ความเห็น: 0
กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2552
กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2552
(Thai Qualifications Framework for Higher Education;TQF:HEd)
ความเป็นมา สืบเนื่องจากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2545 กำหนดให้สถาบันการศึกษาจัดทำกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติของประเทศไทย เพื่อเป็นการประกันมาตรฐานผลการเรียนรู้ของบัณฑิต และใช้เป็นหลักในการจัดทำมาตรฐานด้านต่างๆ ของการจัดการเรียนการสอน ให้มุ่งสู่เป้าหมายเดียวกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีผลตามมา ดังนี้
1. กระทรวงศึกษาธิการจัดทำประกาศ เรื่อง กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2552 เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2552
วัตถุประสงค์หลัก เพื่อเป็นกรอบมาตรฐานให้สถาบันอุดมศึกษาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาหรือปรับปรุงหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน และพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา ให้สามารถผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ และเพื่อประโยชน์ต่อการรับรองมาตรฐานคุณวุฒิในระดับอุดมศึกษา พร้อมทั้งให้ คณะกรรมการการอุดมศึกษานำกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติไปพัฒนามาตรฐานคุณวุฒิสาขา/สาขาวิชาต่างๆ (มคอ.1)ของแต่ละระดับคุณวุฒิ เพื่อที่สถาบันอุดมศึกษาได้ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาหรือปรับปรุงรายละเอียดของหลักสูตร
(มคอ. 2 ) และจัดการเรียนการสอน เพื่อให้คุณภาพของบัณฑิตที่ผลิตในสาขา/สาขาวิชาของระดับคุณวุฒิเดียวกัน มีมาตรฐานที่เทียบเคียงกันได้ ทั้งในระดับชาติและระดับสากล โดยกำหนดให้หลักสูตรที่เปิดสอนอยู่แล้วต้องปรับปรุงให้สอดคล้องกับประกาศข้างต้น ภายใน
ปีการศึกษา 2555
ดังนั้น หลักสูตรระดับปริญญาตรีของคณะฯ สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ และวาริชศาสตร์ มีแผนดำเนินการปรับปรุงหลักสูตรให้สอดคล้องกับประกาศ ฯ โดยจะเริ่มใช้
ในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2555 ดังนี้
เดือน | การดำเนินการ |
ธ.ค.52-ส.ค.53 | ภาควิชาพิจารณาปรับปรุงหลักสูตรให้สอดคล้องกับกรอบมาตรฐานฯ |
ก.ย.53 | เสนอที่ประชุมคณะกรรมการวิชาการประจำคณะฯ / แก้ไขตามมติที่ประชุม |
ม.ค.54 | เสนอที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะฯ / แก้ไขตามมติที่ประชุม |
มิ.ย.54 | เสนอที่ประชุมคณะกรรมการวิชาการวิทยาเขตหาดใหญ่ / แก้ไขตามมติที่ประชุม |
ส.ค.54 | เสนอที่ประชุมสภาวิชาการ / แก้ไขตามมติที่ประชุม |
ต.ค.54 | เสนอที่ประชุมสภามหาวิทยาลัย |
พ.ย.54 | เสนออธิการบดี และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา |
2. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจัดทำประกาศ เรื่อง แนวทางการปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2552 เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม2552 เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนา/ปรับปรุงรายละเอียดของหลักสูตร ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2552 ได้ 2 วิธี คือ
2.1 ใช้ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิสาขา/สาขาวิชาของระดับคุณวุฒินั้น เป็นแนวทางในการพัฒนา/ปรับปรุงรายละเอียดของหลักสูตร
มาตรฐานคุณวุฒิสาขา/สาขาวิชา (มคอ.1) อาทิเช่น
• อุตสาหกรรมการเกษตร • ครุศาสตร์และศึกษาศาสตร์
• พยาบาล • เคมี
• เทคโนโลยีชีวภาพ • คอมพิวเตอร์
• โลจิสติกส์ • วิศวกรรมศาสตร์
• ท่องเที่ยว
2.2 ใช้ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2552 (TQF) เป็นแนวทางในการพัฒนา/ปรับปรุงรายละเอียดของหลักสูตร (กรณีที่กระทรวงศึกษาธิการยังมิได้ประกาศมาตรฐานคุณวุฒิสาขา/สาขาวิชาของระดับคุณวุฒินั้น) เช่น
หลักสูตรระดับปริญญาตรีสาขาวิชาเกษตรศาสตร์ และวาริชศาสตร์ของคณะทรัพยากรธรรมชาติ จะต้องใช้กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2552 ในข้อ 2.2 นี้
มาตรฐานคุณวุฒิสาขา/สาขาวิชา (มคอ.1)
• กรอบที่กำหนดมาตรฐานผลการเรียนรู้ของบัณฑิตในแต่ละระดับการศึกษาของสาขา/สาขาวิชาหนึ่งๆ ซึ่งจะกำหนดคุณลักษณะของบัณฑิต ปริญญา และองค์ความรู้ เพื่อเป็นหลักประกันว่า ผู้ที่สำเร็จการศึกษาจากสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ ในสาขา/สาขาวิชา และระดับคุณวุฒิเดียวกันจะมีผลการเรียนรู้ไม่น้อยกว่าที่กำหนด มาตรฐานผลการเรียนรู้ 5 ด้าน คือ
1. คุณธรรม จริยธรรม
2. ความรู้
3. ทักษะทางปัญญา
4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ(ทักษะทางสังคม)
5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
• เปิดกว้างและส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษาต่างๆ มีโอกาสเพิ่มเติมเนื้อหา สาระในองค์ความรู้ เพื่อพัฒนาเอกลักษณ์ของสถาบันตน ซึ่งจะทำให้มีการพัฒนาหลักสูตรได้อย่างหลากหลาย แต่มีมาตรฐานผลการเรียนรู้ของหลักสูตรในสาขา/สาขาวิชา และระดับคุณวุฒิเดียวกันที่เทียบเคียงกันได้
กระบวนการพัฒนามาตรฐานคุณวุฒิ
• เพื่อส่งเสริมให้เกิดวัฒนธรรมคุณภาพในการจัดการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา และเป็นการประกันคุณภาพขั้นต่ำของบัณฑิตในแต่ละสาขา/สาขาวิชาของคุณวุฒิในระดับต่างๆ
• เพื่อให้แต่ละสาขา/สาขาวิชามีการกำกับดูแลคุณภาพการผลิตบัณฑิตกันเองโดยบัณฑิตในสาขา/สาขาวิชาเดียวกันของแต่ละระดับการศึกษาของสาขา/สาขาวิชานั้นๆ
• เพื่อนำไปสู่การลดขั้นตอน/ระเบียบในการดำเนินการให้กับสถาบันอุดมศึกษาที่มีความเข้มแข็งและความพร้อมในการจัดการศึกษา
สรุปผลที่ได้รับ
• ผู้เรียน รับหลักประกัน ตามมาตรฐานผลการเรียนรู้
• ผู้พัฒนาหลักสูตร มีแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรตาม มคอ. 1 หลักสูตรมีคุณภาพ เป็นการประกันคุณภาพการศึกษา
• ผู้ใช้บัณฑิต พึงพอใจในผลการเรียนรู้ของบัณฑิต บัณฑิตมีคุณภาพ
• ประเทศชาติ มีบุคลากรที่มีคุณภาพสามารถแข่งขันในระดับนานาชาติได้
ผลที่ได้รับจากการผ่านการประเมิน (Thai Qualifications Framework for Higher Education;TQF:HEd)
• สกอ. ขึ้นทะเบียนและเผยแพร่หลักสูตรที่ได้มาตรฐาน ช่วยสถาบันอุดมศึกษาทำประโยชน์ต่อ สังคม
• กพ. รับรองเงินเดือน
• สถานประกอบการ ใช้ประกอบการว่าจ้าง
• กระทรวงศึกษาธิการ ใช้ประกอบการกู้เงิน เพื่อการศึกษา
• องค์กรต่างชาติ ประกอบการเรียนต่อ / ทำงานข้ามชาติ
ร่วมแสดงความเห็นในหน้านี้