ความเห็น: 0
การจัดการรูปสำหรับส่งตีพิมพ์ในวารสาร: 1 -: ก้าวย่างทางเดิน ลืมเลือนคืนวัน ดั้นด้นไป [C]
ข้อกำหนดของสำนักพิมพ์ต่าง ๆ ตอนที่ส่งงานวิจัยไปตีพิมพ์ จะมีข้อกำหนดสำหรับภาพประกอบต่าง ๆ เอาไว้แตกต่างกัน
เช่นกำหนดรูปแบบ (format) ของภาพเป็น eps (Encapsulated PostScript) หรือ pdf (Portable Document Format) หรือ tiff (Tag Image File Format) หรือบางสำนักพิมพ์ก็จะให้ใช้ jpeg หรือรูปแบบอื่นได้
ทั้งนี้จะต้องเป็นภาพที่มีความคมชัด สามารถที่จะ re-print ได้
ทั้งนี้ทางสำนักพิมพ์อาจจะกำหนดค่า dpi (Dots Per Inch) หรือ ppi (Pixels Per Inch) ขั้นต่ำเอาไว้ เช่น ไม่น้อยกว่า 600 dpi และอาจจะกำหนดค่า dpi ของภาพขาวดำ กับภาพสีต่างกัน หรือกำหนดค่า dpi ของภาพลายเส้นกับภาพถ่ายต่างกัน สำหรับภาพลายเส้นก็จะให้ใช้ eps/ pdf ส่วนภาพถ่ายก็จะให้ใช้ tiff
eps เป็นภาพชนิด vector ส่วน tiff นั้นเป็นภาพชนิด raster ดูคำอธิบายแบบง่าย ๆ สำหรับ vector และ raster ได้จากลิงค์นี้
หรือภาพที่เป็น vector จะเก็บข้อมูลในลักษณะที่เป็นพิกัดของสีเอาไว้ ส่วน raster จะเก็บข้อมูลสีแต่ละจุด (dot/ pixel) ดังนั้นหากเป็นภาพที่มีความซับซ้อนของสีมากก็ควรจะเก็บข้อมูลภาพในรูปของ raster file แต่หากรูปมีสีที่ไม่ซับซ้อนก็เก็บในรูปของ vector file
สมมติว่าเราสร้าง boxplot จาก R แล้วใช้การบันทึกภาพเป็น eps หรือ tiff จะได้ภาพรูปแบบ tiff ที่มี dpi เท่ากับ 96 dpi เท่านั้น

รูปที่ได้จากการใช้คำสั่ง boxplot ข้างต้น

tiff มีขนาดไฟล์ 1,250KB
หรือเมื่อดูขนาดของภาพ (กว้าง x สูง) จะพบว่าภาพมีขนาด 653 x 653 pixels หรือ 653/96=6.8 นิ้ว (6.8 x 6.8 นิ้ว)

รายละเอียดของ tiff file ที่ไม่มีการบีดอัดข้อมูล ที่ได้จากการบันทึกจากหน้าต่าง R Graphic Device (ใช้การคลิกขวาที่รูปแล้วเลือก properties)
ขนาดภาพที่เป็น eps จะมีขนาดเท่ากับ 723KB
ถ้าเราต้องการให้ภาพของเรามี dpi เท่ากับ 600 dpi เราจะทำอย่างไร
เราใช้การ save แบบปกติคงไม่ได้แล้วครับ เราต้องอาศัยการเขียนไฟล์โดยตรงจากบรรทัดคำสั่งของ R แล้วใช้การกำหนดค่าความละเอียดของภาพแทน
เราจะใช้ฟังก์ชัน tiff() สำหรับการสร้างไฟล์ .tiff โดยที่กำหนดขนาดกว้าง xยาว ของภาพเท่า4x4 นิ้ว และ dpi=600 และไม่มีการบีดอัดข้อมูล
ไฟล์ที่ได้จะมีขนาด 16,876KB หรือประมาณ 17เมกะไบต์

2400/600=4 นิ้ว
ถ้าใช้การบีดอัดข้อมูลด้วย lzw
ไฟล์ที่ได้จะมีขนาด 120KB

ถ้าต้องการบันทึกภาพเป็น vector file หรือ eps นั้นเราใช้การกำหนดขนาด กว้างxยาว ของภาพที่ต้องการโดยไม่ต้องระบุจำนวน dpi เนื่องจาก eps เป็น vector file การย่อ/ ขยายจะไม่มีผลต่อคุณภาพของภาพ

หรือหากต้องการใช้ font ตามที่ต้องการก็ให้ระบุ family เพิ่มเติม เช่นตัวอย่างด้านล่างจะระบุให้ใช้ font ในกลุ่มของ Times หรือ Times New Roman
ซึ่งแฟ้มข้อมูล eps นั้นจะจัดเก็บในรูปแบบของ text file ที่รวบรวมชุดคำสั่งสำหรับการวาดรูปเอาไว้ ดังนั้นโปรแกรมที่ใช้เปิดแฟ้มข้อมูล eps ก็จะใช้การประมวลผลคำสั่งที่มีในแฟ้มข้อมูล eps แล้วจัดการวาดรูปออกมาตามชุดคำสั่ง
ตัวอย่างส่วนหัวข้องแฟ้มข้อมูล eps
อิอิอิ
เราเอง
เพลง: Always
ศิลปิน: Bon Jovi
บันทึกอื่นๆ
- เก่ากว่า « บันทึกปัญหาเกี่ยวเนื่องกับการใช้...
- ใหม่กว่า » การจัดการรูปสำหรับส่งตีพิมพ์ในวา...