ความเห็น: 0
ระเริงคิด ๗: ก้าวย่างทางเดิน ลืมเลือนคืนวัน ดั้นด้นไป
หลังจากที่เราสร้างสมการถดถอยเชิงเส้นระหว่างค่า % จริงของสาร abc กับค่า % ของสาร abc ที่ตรวจวัดได้จากเครื่องมือ A และเก็บผลลัพธ์ที่ได้ไว้ในวัตถุชื่อ model2
เมื่อเราใช้ฟังก์ชัน summary() สำหรับแสดงผลโดยสรุปของค่าที่เก็บไว้ใน model2 ผลลัพธ์ที่ได้มีหน้าตาเป็น
คราวนี้เรามาดูว่าผลลัพธ์จากการสร้างสมการถดถอยเชิงเส้นข้างต้นให้ข้อมูลอะไรแก่เราบ้าง
จากค่าในตำแหน่งแถวหมายเลข 1 และ 2 (เลข 1 และ 2 บนวงกลมแดง) นั้นเรานำค่าในทั้งสองแถวมาสร้างเป็นสมการก็จะได้เป็น
y=2.0536 + 0.9794x
เมื่อ y= % จริงของสาร abc
x = ผลจากการตรวจวัดด้วยเครื่องมือ A
สมการที่แท้จริงคือ
% จริงของสาร abc = 2.0563 + 0.9794x (% สาร abc ที่ตรวจวัดได้ด้วยเครื่องมือ A)
เช่นจากข้อมูลของตัวอย่างที่ ๓๐ ตัวอย่างที่ ๓๐ มีค่า % ของสาร abc จริงเท่ากับ ๔๒ แต่เมื่อใช้เครื่องมือ A ตรวจวัดจะวัดได้ค่า % ของสาร abc เท่ากับ ๔๐.๗๘ ซึ่งน้อยกว่า % จริงอยู่ ๔๒ - ๔๐.๗๘ = ๑.๒๒ %
แต่หากเราใช้สมการข้างต้นค่า เมื่อเราวัดค่า % ของสาร abc จากตัวอย่างด้วยเครื่องมือ A ได้แล้ว (ซึ่งเท่ากับ ๔๐.๗๘) ก็นำค่า % ของสาร abc ที่วัดได้จากเรื่องมือ A ไปแทนค่าในสมการเพื่อทำนายค่า % จริงของสาร abc และจะได้เป็น
% จริงของสาร abc ในตัวอย่างที่ ๓๐ = 2.0563 + (0.9794 x 40.78)
% จริงของสาร abc ในตัวอย่างที่ ๓๐ = 2.0563 + 39.939932
% จริงของสาร abc ในตัวอย่างที่ ๓๐ = 41.996232
% ของสาร abc ในตัวอย่างที่ ๓๐ เมื่อทำนาย (predict) ด้วยสมการจะมีค่าเท่ากับ ๔๑.๙๙๖๒๓๒ ในขณะที่ % ของสาร abc จริงในตัวอย่างที่ ๓๐ มีค่าเท่ากับ ๔๒
ค่า % ของสาร abc ที่ทำนายได้จากสมการคลาดเคลื่อนจากค่า % จริงของสาร abc เท่ากับ ๔๑.๙๙๖๒๓๒ - ๔๒ = - ๐.๐๐๓๗๖๘
น้อยกว่าค่าจริง ๐.๐๐๓๗๖๘ %
การใช้สมการทำนายค่าจะมีค่าใกล้เคียงกับค่าจริงเท่าไหร่นั้นก็ขึ้นอยู่กับค่าความคลาดเคลื่อน ความเที่ยง ความไว ความจำเพาะของเครื่องมือที่ใช้วัด
จากผลลัพธ์ที่ได้จากการใช้ฟังก์ชัน summary() สรุปผลลัพธ์การสร้างสมการถดถอยเชิงเส้นที่เก็บไว้ใน model2 นั้นมีค่าที่บอกว่าสมการที่ได้นั้นสามารถอธิบายข้อมูลได้ทั้งหมดเท่าไหร่ ซึ่งก็คือค่า R-Squared ในบรรทัดตำแหน่งที่ ๓ (เลข 3 บนวงกลมแดง) นั่นเอง
ให้เราดูค่า Adjusted R-squared
เราจะเห็นว่าค่า Adjusted R-squared มีค่าเท่ากับ ๐.๙๙๙๗ หรือสมการนี้สามารถทำนายข้อมูลได้ทั้งหมด ๙๙.๙๗ % ของข้อมูลทั้งหมด มีข้อมูลเพียง ๐.๐๓ % ที่ไม่สามารถอธิบายได้ด้วยสมการนี้
ซึ่งค่าที่ไม่สามารถอธิบายได้ด้วยสมการนี้อาจจะเป็นค่าที่มีการเบี่ยงเบนไปของการวัดมากกว่าค่าอื่น ๆ หรือเป็นค่าที่เรียกว่า outlier
ค่า outlier เหล่านี้อาจจะเกิดจากความผิดพลาดของเครื่องมือ หรือเครื่องมือไม่ไวหรือไม่จำเพาะต่อช่วงความเข้มข้นของสารช่วงใดช่วงหนึ่งก็ได้ หรือความผิดพลาดจากกรณีอื่น ๆ
อิอิอิ
เราเอง
เพลง:
ศิลปิน:
บันทึกอื่นๆ
- เก่ากว่า « ระเริงคิด ๖: ก้าวย่างทางเดิน ลืม...
- ใหม่กว่า » ระเริงคิด ๘: ก้าวย่างทางเดิน ลืม...
ร่วมแสดงความเห็นในหน้านี้