comment: 3
การศึกษาไทย
ได้อ่านการสัมมนา การทำกรอบแผนอุดมศึกษาสิบห้าปี 2552-2565 ในเนื้อหาส่วนหนึ่งกล่าวถึงการศึกษาของประเทศในยุโรปที่มีความแตกต่างกัน จึงมีแผนที่ศึกษาร่วมกันในลักษณะที่ให้เรียนข้ามกันไปมาและเทียบโอนกันได้ หมายถึงการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนพบกับสิ่งใหม่ ๆ ที่หลากหลายเพื่อนำมาพัฒนาและปรับใช้
อ่านไปในส่วนของไทย กลับทิศกัน การสำรวจพบคนไทยมีความสามารถไม่ดีนักในผลการประเมินเปรียบเทียบต่าง ๆ ดังนั้น เพื่อให้ดีขึ้น(ตามแผนที่ว่าไว้) จึงการกำหนดกรอบให้ทุกคนต้องเดินตาม และไม่เดินตามคนไทยด้วยนะ จะเดินตามฝรั่ง ที่เรียกกันว่า เป็นสากล
ดูให้ดี จะเห็นว่า การศึกษาไทย คนไทยไม่สามารถแสดงความเป็นไทย แสดงความสามารถของตนเองออกมาได้เพราะไม่อยู่ในกรอบ ต้องเดินตามฝรั่งก็เลยถูกบังมิดชิด ผิดกับฝรั่งเองที่ให้ผู้เรียน เปิดวิสัยทัศน์การเรียนรู้ให้กว้าง เพื่อจะได้รับรู้และคิดที่แตกต่างจากกรอบเดิม ๆ ขณะที่ไทยกลับตีกรอบให้เดิน ประเมินตามแบบฝรั่ง อ้างว่าไทยไม่มีมาตรฐาน เลยต้องเดินตามฝรั่ง (ไม่แน่ใจว่าจะมีคนไทยอยู่ในโลกนี้หรือไม่ เพราะไม่มีคนอยากเป็นคนไทย อย่างกรณีวารสารของไทยหลายเล่มก็เป็นฝรั่งไปแล้ว ไม่มีภาษาไทยให้อ่านอีกแล้ว และเราก็นำข้อมูลทั้งหมดไปถวายให้ฝรั่ง โดยไม่นำพากับคนไทย {ขอใช้ภาษานางทาส เพราะดูเหมือนจะเป็นทาสกันแล้ว})
ดูตามความจริง คนไทยก็เป็นคนไทยวันยังค่ำ เรายังกินข้าวเป็นหลัก และฝรั่งเองก็ยอมรับข้าวของเรา มีเพียงพวกเรากันเอง ที่บอกว่าเราต้องกินขนมปังเช่นเดียวกับฝรั่ง จึงมีมาตรฐานโลก ซึ่งคงเป็นไปไม่ได้ คงต้องปรับความคิด ให้การศึกษาเลิกตีกรอบ เชื่อมั่นในศักยภาพของคนไทย ตั้งแต่เริ่มเรียนให้นักเรียนสามารถแสดงความความคิดสร้างสรรตามสภาพแวดล้อมของเรา โดยไม่ตีกรอบให้ต้องเดินตามฝรั่งต่างชาติ แต่เปิดโอกาสการเรียนรู้ให้กว้างขึ้น ก็จะทำให้เด็กไทย คนไทยฉลาดขึ้น การศึกษาไทยจะดีขึ้น เพียงแต่เราเป็นไทยมากขึ้น ถึงเวลาที่ต้องหันหลังกลับบ้านเราได้แล้ว เราไม่มีทางเป็นฝรั่ง เพราะเราเป็นไทย แล้วจะเสนอว่า เราจะหันหลังกลับอย่างไร
(หากท่านขุนยังไม่รู้ความจริงและรู้สึกตัว อีเย็น{คนไทย}ยังต้องเป็นทาส หลบๆ ซ่อน ๆ {ไม่เป็นตัวของตัวเอง}ไปตลอด ควรเริ่มนำพากันได้แล้ว)
บันทึกอื่นๆ
- เก่ากว่า « มอ. เรามีบริการที่ทันสมัย
- ใหม่กว่า » เก็บเอามาแบ่งปัน:เกณฑ์การประเมิน...
comment
ผมคิดว่า ..อยากให้คนเก่งๆ ไปสอนอยู่ในระดับประถมศึกษา และระดับมัธยม มากขึ้นกว่านี้ เพราะคิดว่าถ้าเด็กเก่งมาตั้งแต่เล็กๆ ถูกปลูกฝังพฤติกรรมการเรียนรู้มาตั้งแต่เด็ก ในระดับอุดมศึกษาก็น่าจะสามารถจัดการเรียนการสอนที่ง่ายขึ้น? ตอนนี้มันดูเหมือนจะกลับกัน คนเก่งๆ จะสอนอยู่ระดับอุดมศึกษาเป็นส่วนใหญ่ แล้วสถาบันอุดมศึกษาก็มานั่งกลุ้มอยู่ว่าเด็กเดี๋ยวนี้เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยระดับความเก่งด้านวิชาการน้อยลง
![]() |
เราคงเป็นทาสไปอีกนาน ถ้าเรายังต้องไปตีพิมพ์ในวารสารฝรั่งที่ต้องมี impact factor สูง ๆ ด้วย และสุดท้ายเราต้องไปจ่ายเงินเพื่อจะได้เป็นสมาชิกอีก มาลงตีพิมพ์ในวารสารสงขลานครินทร์กันเถอะแม้ว่าก็ต้องเขียนเป็นภาษาอังกฤษแล้วก็ตาม หลาย ๆ ประเทศไม่เห็นเค้าจะสนใจฝรั่งเลย เราควรเป็นตัวของตัวเองบ้างนะ เห็นด้วยค่ะ
15 มิถุนายน 2551 17:11
#30894
คนไทยไม่แสดงความสามารถของตนออกมา อาจเป็นเพราะวัฒนธรรมไทย สอนให้เราเก็บงำความคิด ความรู้สึก รู้จักถ่อมตน ถ้าแสดงออกมากไปก็จะกลายเป็นอวดดี แฮ่ ๆ หนูพึ่งรู้ว่าอาจารย์ก็ดูนางทาสเหมือนกัน