comment: 0
ค่าเงินแข็ง-อ่อน
ช่วงนี้ คงได้ยินคำว่า เงินบาทแข็งค่า คือใช้เงินบาทน้อยลงในการซื้อของชิ้นเดิม ของที่มีค่า 1 ดอลลาร์ หากเดิมเงินบาทอ่อนตัวที่อัตรา 33 บาทต่อ 1 ดอลลาร์ ต้องใช้เงิน 33 บาทซื้อของดังกล่าว พอค่าเงินแข็งขึ้นเป็น 30 บาทต่อ 1 ดอลลาร์ สามารถซื้อของดังกล่าวได้ด้วยการใช้เงินเพียง 30 บาท ถูกลง 3 บาท
ค่าเงินแข็งดีต่อการจ่ายหนี้ที่เป็นดอลลาร์ เพราะจะใช้เงินบาทน้อยลง เช่นเดียวกับการซื้อของที่ต้องใช้เงินดอลลาร์
แต่จะขายของและส่งออกได้ยากขึ้น เพราะของจะแพงขึ้น ต้องจ่ายเป็นดอลลาร์มากขึ้น
ที่สำคัญคือผู้ผลิตไทยจะได้เงินบาทน้อยลงในการขายของ ที่ได้เงิน 1 ดอลลาร์ เปลี่ยนเป็นเงินบาทได้แค่ 30 บาท ขณะที่บาทอ่อนได้ถึง 33 บาท
เมื่อผู้ประกอบการได้รายได้ลดลง ย่อมส่งผลต่อคนทำงานทั้งค่าจ้าง สวัสดิการ ต้นทุนการผลิต ที่ผลิตของได้เท่าเดิม แต่รายได้น้อยลงถึงประมาณ 10 % จากอัตรา 30 เป็น 33 บาท
จึงต้องเข้าใจ ร่วมมือกัน รักษาคุณภาพ เพิ่มผลิตภาพ ในการอยู่การร่วมงานกัน
ค่าเงินเป็นไปตามกลไกการเงิน การตลาด ไม่มีใครควบคุมได้ จึงต้องควบคุมที่ความสามารถ ความคิด
ยิ่งการบิดเบือนค่าคน การรับความช่วยเหลือโดยไม่สร้างค่าตน จะทำให้คนไม่มีค่า ที่จะสะท้อนความหมดค่าของคน ทำให้ค่าเงินของประเทศนั้น ๆ หมดค่าไม่ใครเชื่อถือ
ทุกคนต้องช่วยกันพัฒนาค่าตนให้คุ้มค่า ให้เชื่อว่า ทำได้ดีกว่า ยอมจ่ายค่างานให้
บันทึกอื่นๆ
- เก่ากว่า « ทำได้ ทำเป็น
- ใหม่กว่า » นักศึกษาไม่ใช่แค่ผู้เรียน
Comment on this Post