ความเห็น: 0
ความต้องการเทียม
ได้อ่านบทความวิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้งเมื่อปี 2540 พบว่าสาเหตุหนึ่งเกิดจากความต้องการเทียมของอสังหาริมทรัพย์คืออาคารสิ่งก่อสร้างที่อยู่อาศัย
ที่เป็นความต้องการเทียมเพราะเป็นการคิดจากผู้ประกอบการเองที่ไม่ใช่เป็นความต้องการของตลาดจากผู้ต้องการจริง รวมถึงการเก็งกำไรที่ซื้อเพื่อขายต่อ ไม่ใช่เพื่ออยู่จริง
ความต้องการเทียมเป็นเหมือนฟองสบู่ที่ดูฟูฟ่องใหญ่โต แต่เมื่อแตกจะมีแต่ความว่างเปล่าไม่เกิดค่าที่แท้จริง
เช่นเดียวกับการผลิตสินค้า การประกอบการที่ไม่ได้คิดถึงความต้องการที่แท้จริง ทำแบบคิดเอาเองว่าดี แต่สุดท้ายขายไม่ได้เพราะไม่ตรงกับความต้องการจริง
อีกอย่างที่สำคัญคือการจัดการศึกษาไทย ที่ทั้งหลักสูตร สถานศึกษา ผู้เรียนจัดการศึกษาเพื่อให้ได้ปริญญา มีความรู้มีปริญญาสูง แต่ความต้องการที่แท้จริงคือความสามารถจริงในการทำงานสร้างค่าที่หนักเอา เบาสู้ ไม่ใช่ลอยฟ่องฟูด้วยปริญญาแต่สร้างค่าจริงไม่ได้
มีปริญญาแต่ยังต้องอาศัยการสนับสนุนจุนเจือ ไม่สามารถแข่งขันสร้างค่าด้วยตนเองเพราะไม่สามารถทำสิ่งที่ตรงกับความต้องการจริง
เพราะคิดว่าสิ่งที่มีที่ทำ หลักสูตร ปริญญาเป็นความต้องการเทียมที่คิดเอาเองจากสถานศึกษาฝ่ายผลิต ผู้เรียนที่เรียนมุ่งเอาปริญญา เห็นค่าปริญญามากกว่าค่าที่แท้จริงที่ไม่สามารถสร้างค่าแข่งขันได้จริง จึงเป็นความเก่งเทียมที่เก่งมีความรู้แต่ไม่สามารถใช้ตรงกับความต้องการจริง
ดังนั้น จึงต้องมาวิเคราะห์จัดการพัฒนาการศึกษาให้สามารถพัฒนาความสามารถคนตามความสามารถที่แท้จริง ให้สามารถดึงศักยภาพออกมาใช้ ไม่ใช้สอนให้ทำตาม แต่สอนให้สามารถคิดพัฒนาเองเพื่อสร้างค่าจากตัวตนภายใน ซึ่งต้องเริ่มจากพ่อแม่ครอบครัวที่เลี้ยงดูส่งเสริมจากการปล่อยให้มีการพัฒนาเอง ไม่จำกัดตามที่พ่อแม่ต้องการจนขาดการพัฒนาความคิด ทางเลือก
หลักสูตรการศึกษาต้องเปิดโอกาสให้คิดสร้างสรรค์ ไม่ตีกรอบความคิดให้ต้องเรียนแบบทำตามที่สอนจนปิดความสามารถในการคิดการพัฒนา
ต้องสอนกระบวนการเรียนรู้ คิดสร้างสรรค์ให้แข่งขันได้จริง ให้บทเรียนที่คิดผิดได้จะได้ไม่คิดไปเองว่าเก่งว่าดีแต่ไม่มีใครต้องการที่เป็นความต้องการเทียม
เก่งจริงต้องสร้างค่าได้ที่ใคร ๆ ต้องการ เก่งเทียมทำแล้วสร้างค่าไม่ได้เพราะไม่ตรงกับความต้องการของใคร ๆ
บันทึกอื่นๆ
- เก่ากว่า « อาลัยพี่เสริฐ
- ใหม่กว่า » ยุคการเล่นแชร์ความสามารถ
ร่วมแสดงความเห็นในหน้านี้