ความเห็น: 3
วิชาการตามไม่ทันวิชาชีพ
วิชาการหมายถึงความรู้สาขาวิชาต่าง ๆ ที่ใช้จัดการเรียนการสอน รวมถึงการทำวิจัยเพื่อการลงตีพิมพ์เผยแพร่ แต่ไม่ได้นำมาใช้งานให้เกิดมูลค่าจริง
ส่วนวิชาชีพ คือการใช้วิชาความรู้เพื่อการประกอบอาชีพ เพื่อให้เกิดรายได้เป็นค่าครองชีพ หรือทำมาหากิน หรือเลี้ยงตน
ในการเรียนการสอนปัจจุบันของไทย ที่เป็นการเรียนจากห้องเรียน ตำรา หนังสือ แหล่งความรู้ดูงาน ที่เป็นการเรียนรู้แต่วิชาการ ที่ไม่มีการใช้ประกอบอาชีพจริง
ผู้สอนส่วนใหญ่ไม่เคยมีประสบการณ์การทำงานจริง จนเรียกได้ว่าตามวิชาชีพไม่ทัน ไม่เข้าใจการใช้วิชาการเพื่อวิชาชีพจริง ยกเว้นสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ แพทย์ พยาบาล
อาจารย์มักเป็นการเรียนรู้จากการอ่าน การทำวิจัย แต่ไม่มีประสบการณ์ใช้งานจริง จึงสร้างค่างานไม่ได้
และเมื่อให้ทำงานเพื่อให้ได้เงินให้คุ้มค่าก็ทำไม่ได้ ทำให้การเรียนการสอนไม่สามารถใช้งานได้จริง เพราะผู้สอนก็ไม่เคยทำ จนตามไม่ทันเทคโนโลยีทางการค้า
การเรียนปฏิบัติการก็เป็นแค่การทำตามหลักสูตรไม่ใช่การใช้งานจริง
หลายครั้งที่หลายท่านต้องการให้ผลิตบัณฑิตเป็นผู้ประกอบการ จึงเป็นไปได้ยากเพราะหลักสูตรไม่มีต้นแบบที่เป็นธุรกิจจริงให้เรียน การเรียนแต่วิชาการ ไม่มีความเสี่ยง ไม่มีการแข่งขันทางธุรกิจ มีแต่ความรู้ที่เป็นนามธรรมที่ไม่ต้องรับผิดชอบต่อความเสียหาย รวมทั้งเลี้ยงตัวเองก็ไม่ได้
หากต้องการใช้วิชาความรู้ สถาบันการศึกษา คณะวิชา ต้องใช้ความรู้ทำงานประกอบอาชีพจริง ไม่ใช่แค่ผู้รู้จัดอบรม ต่าง ๆ
วิศวะโยธาต้องเปิดธุรกิจก่อสร้าง สาขาบัญชีก็ต้องเปิดสำงานบัญชี สาขานิติศาสตร์ต้องเปิดสำนักงานทนายความ ฯลฯ
ในทุกสาขาชีพที่ต้องทำธุรกิจจริงเช่นเดียวกับคณะแพทย์ ต้องมีโรงพยาบาลและมีคณะพยาบาลมาร่วมให้บริการพยาบาลพร้อมการผลิตพยาบาล จึงทำให้ความรู้วิชาการตามวิชาชีพได้ทัน และยังทำให้เกิดรายได้จริง
ผู้เรียนก็สามารถทำงานจริงได้ด้วยและสามารถคิดเป็นค่าตอบแทนแทนการกู้ยืมเงินในการเรียน
นี่คือจุดท้าทายการจัดการศึกษาในยุคศตวรรษที่ 21 คือการเรียนจากการทำอาชีพจริง ไม่ใช่แค่กิจกรรมการเรียนวิชาการเท่านั้น ที่ทำให้วิชาการตามวิชาชีพไม่ทันคือทำมาหากินเองไม่ได้
Other Posts By This Blogger
- Older « ความสำเร็จ
- Newer » ดอกเบี้ยติดลบ
ความเห็น
ความจริง คณะทรัพยากรธรรมชาติ ก็ได้ใช้สถานีวิจัยปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ เพื่อการผลิตเป็นการค้าจริง พร้อมกับการฝึกงานนักศึกษา การทำวิจัยของอาจารย์เช่นเดียวกับที่คณะแพทย์ใช้โรงพยาบาลทั้งการให้บริการทางการแพทย์และการจัดการเรียนการสอน แม้แต่การฝึกงานปลูกผักก็ทำจนถึงการจำหน่ายผักแก่ประชาชนทั่วไป มีการนำความรู้จากการวิจัยในพัฒนาปาล์มน้ำมันพันธุ์ทรัพย์ ม.อ. จำหน่าย รวมถึงกล้ายางพันธุ์ดี ลูกแพะพันธฺุ์ทรัพย์ ม.อ. การบริการจัดการปุ๋ยแก่สวนปาล์น้ำมัน
01 กุมภาพันธ์ 2559 19:27
#104607
เห็นด้วยอย่างยิ่งเลยนะคะ อาจารย์ อยากให้มหาวิทยาลัยมีการทำงานจริงๆในสาขาต่างๆที่เปิดสอน เช่นนิติศาสตร์ก็มีสำนักงานทนายความ รับว่าความจริงๆ บัญชีก็มีสำนักงานตรวจบัญชีจริงๆ คณะทรัพยากรธรรมชาติยิ่งน่าจะมีหลากหลายสำนักงานที่ทำอาชีพจริงๆเลย ทำแบบจริงจังแต่เป็นบริการประชาชนในพื้นที่ ด้วยอัตราค่าบริการที่ต้องบริหารจัดการให้อยู่ได้ตามสภาพจริงๆ