ความเห็น: 0
ค่าของตำแหน่งทางวิชาการ 2. การสร้างและรักษาให้มีมูลค่า
เนื่องจาก ตำแหน่งทางวิชาการ เป็นการกำหนดให้ผู้เป็นอาจารย์ มีเกียรติเชื่อถือได้
และหวังว่า อาจารย์ทุกคนจะรักษาเกียรติของตน ด้วยการสร้างสรรค์ผลงานวิจัย งานวิชาการ ตราบที่ดำรงตำแหน่ง จึงไม่มีการตัด ลดขั้น ลดค่าตอบแทนเงินประจำตำแหน่ง
แต่ความจริง กลับมีผู้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ จำนวนหนึ่งไม่ปฏิบัติตามเกียรติของการดำรงตำแหน่งดังกล่าว
ที่ประชุมคณบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เมื่อ 6 มิถุนายน 2556
จึงมีมติการพิจารณาความดีความชอบ สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ ทุกระดับ
หากไม่มีผลงานวิชาการตามมาตรฐานของแต่ละตำแหน่ง จะให้ขึ้นเงินเดือนได้ไม่เกิน 2% ในแต่ละรอบกาประเมิน ซึ่งปริมาณผลงานในระดับเดียวกับมาตรฐานที่ สกอ.กำหนด
การกำหนดเช่นนี้ จะเป็นผลดีแก่ผู้ที่สร้างผลงานวิชาการตามมาตรฐาน ที่มีโอกาสเพิ่มสัดส่วนการเพิ่มเงินเดือนจากผู้ที่ไม่ทำผลงานตามมาตรฐาน
การกำหนดเช่นนี้ ถือเป็นการรักษาเกียรติของมหาวิทยาลัยที่ใช้กันในหลาย ๆ มหาวิทยาลัย
การสร้างผลงาน คือการทำวิจัย ต้องมีการขอทุนทำวิจัย ต้องมีการดูแล สอนนักศึกษาบัณฑิตศึกษา
หากเป็น ศ. ต้องมีการพัฒนาอาจารย์รุ่นใหม่ ให้พัฒนาได้เร็วขึ้น เพื่อทำงาน ทำหน้าที่ เพิ่มค่า คือขอทุนวิจัยเพิ่ม มีนักศึกษาบัณฑิตศึกษาได้ค่าธรรมเนียมการศึกษาเพิ่ม
และต้องสร้างผลงานที่สามารถใช้ประโยชน์ ซึ่งไม่ใช่ประโยชน์โดยตรงแก่มหาวิทยาลัย แต่เป็นการเพิ่มผลผลิต การผลิต การรักษาพยาบาล การเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของประเทศก็ได้
ทั้งหมด คือ ค่าของตำแหน่งทางวิชาการ ที่ผลงานการเข้าสู่ตำแหน่งคือ การแสดงว่ามีความสามารถ
และการครองตำแหน่ง คือการสร้างมูลค่าของความสามารถ ที่ต้องแสดง ต้องทำตลอดไป
และรวมถึง ตำแหน่ง ชำนาญการ เชี่ยวชาญ ด้วย ที่เป็นผู้ที่มีเพดานเงินเดือนสูงกว่า ก็ต้องใช้ความสามารถสร้างมูลค่างานเช่นกัน
ด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพ ความเร็ว ด้วยการจัดระบบสนับสนุนการบริการ ให้งานเดินได้เร็วขึ้น ไม่ใช่ควบคุมให้ช้าลง
บันทึกอื่นๆ
- เก่ากว่า « ค่าของตำแหน่งทางวิชาการ 1. หมายถ...
- ใหม่กว่า » ช่วยทำให้หนังสือราชการก้าวทัน IT
ร่วมแสดงความเห็นในหน้านี้