ความเห็น: 0
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซี่ยน รวมพลังสร้างโอกาส ?
การรวมตัวของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เป็นรวมตัวกัน 10 ประเทศ ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีโอกาสอยู่ใกล้ประเทศที่การขยายตัวทางเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่าน 2 ประเทศ คือ จีนและอินเดีย ที่เป็นประเทศที่มีประชากรสูงสุดเป็นที่ 1 2 ของโลก รวมประมาณ 2,300 ล้าน ของประชากรโลก 7,000 ล้านคน
การรวมตัวในอาเซียนนั้น ในด้านการผลิตทำให้มีพื้นที่การผลิตการเกษตรเพิ่มขึ้น ความจริง ปัจจุบันมีกิจกรรมเหล่านี้อยู่แล้ว โดยเฉพาะบริษัทภาคเอกชนใหญ่ ๆ ของไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ เข้าไปลงทุนทำธุรกิจทั้งในลาว กัมพูชา เวียดนาม อินโดนีเซีย พม่า รวมทั้งการเคลื่อนตัวของแรงาน โดยฉพาะในประเทศไทย มีทั้ง ลาว พม่า กัมพูชา
การขาดแคลนเป็นปัญหาหนึ่งในภูมิภาคนี้ ที่เห็นชัด โดยเฉพาะในไทยและมาเลเซีย
โดยของไทยมาจากประเทศรอบ ๆ
แต่ของมาเลเซียมาจากประเทศแถบเอเซียใต้ ศรีลังกา บังคลาเทศ ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย
อาจเป็นเรื่องของศาสนาและวัฒนธรรม ที่ของไทยเป็นชาวพุทธ และมาเลเซียเป็นอิสลาม
ส่วนตลาดสินค้า คงไหลไปมาไม่มาก นอกจากการขยายพื้นที่การผลิตวัตถุดิบทางการเกษตร
ส่วนการไหลของของแรงงานระดับควบคุมการผลิตที่จบระดับปริญญาตรีไม่ง่ายนัก และยากกว่าระดับแรงงาน เพราะคนในภูมิภาคนี้จะติดพื้นที่ตัวเอง โดยเฉพาะคนไทยทางใต้ เพราะแม้แต่ในประเทศไทยในภูมิภาคอื่น ๆ คนใต้โดยเฉพาะด้านการเกษตรยังไปทำงานจำนวนน้อยมากในยุคปัจจุบัน
การรวมตัวให้เป็นภูมิภาคเดียวกัน นั้นต้องมีจิตสำนึกของความเป็นหนึ่งเดียว ซึ่งดูแล้วไม่ง่ายนักสำหรับคนไทย เพราะแม้แต่ในประเทศยังมีความแตกแยกทางความคิด ไม่เป็นหนึ่งเดียว และยังยึดประโยชน์แบบแย่งชิง แข่งขันมากกว่าแบบเสริมกัน
ด้านการศึกษา ยังมีระบบที่แตกต่างกันค่อนข้างมาก ทั้งภาษาและค่าครองชีพ การคิดว่าจะมีการไหลของนักศึกษาไปเรียนตามที่ไทยกำลังจะปรับเวลาเปิดภาคเรียนยังเป็นไปได้น้อยมาก เพราะแม้แต่ในไทยด้วยกันเองก็ยังเกิดขึ้นน้อยมาก
ดังนั้น การปรับเวลาเปิดภาคเรียนของไทยจึงเป็นการทำแบบไม่มีประโยชน์อะไรกับใคร เหมือนอยากขายสินค้าแต่ไม่มีใครซื้อ เพราะยังมีช่องทางภาษา ค่าครองชีพ และการใช้งาน
อย่างคนไทยก็ยากที่จะไปเรียนที่มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์อดีตมีคนไทยไปเรียนมาก ปัจจุบันมีน้อยมาก
ลาว กัมพูชา เวียดนาม ไม่มาเรียนในไทย เพราะเรียนไปแล้วไม่สามารถใช้งานกับสภาพของประเทศตนเองได้ ที่มาเรียนเพราะได้รับทุน จะมีนักศึกษาเวียดนามมาเรียนในไทยในสาขาทางบริหารธุรกิจ ภาษา เพื่อไปทำงานด้านธุรกิจท่องเที่ยวสำหรับคนไทย
การศึกษาที่มีการไป-มาจำนวนน้อยในปัจจุบัน ไม่ได้เกี่ยวกับเวลาเปิดภาคเรียนแม้แต่น้อยอย่างที่ที่ประชุมอธิการบดีคิด และหากต้องการไปเรียนจริงก็ไม่ใช่ปัญหา อย่างคนไทยไปเรียนยุโรป อเมริกา ซึ่งมีเวลาการเปิดภาคเรียนต่างกันก็ไปเรียนกันได้
การเลื่อนเวลาการเปิดภาคเรียน จึงไม่มีประโยชน์อะไร นอกจากเกิดผลกระทบต่อการศึกษาไทย คนไทย ที่ยังไปเป็นระบบเดียวกัน ขัดแย้งกับเวลาของประเพณี วัฒนธรรมไทย โดยเฉพาะสาขาการเกษตรที่เป็นพื้นฐานของการเปิดภาคเรียน จึงมีปัญหาต่ือกิจกรรมการเรียนการสอน ที่ขยับไปก็ไม่มีใคร แต่เป็นปัญหากับตัวเอง
ไม่มั่นใจว่า การรวมตัวในอีก 3 ปีข่างหน้า ปี ค.ศ. 2015 จะมีอะไรแตกต่างไปจากปัจจุบันที่มีการดำเนินการตามสภาวะการณ์อยู่แล้ว
บันทึกอื่นๆ
- เก่ากว่า « วิธีหาประเด็นการพัฒนาจากลูกค้า
- ใหม่กว่า » คนอวดเก่งคือคนเก่งที่น่าเวทนา
ร่วมแสดงความเห็นในหน้านี้