ความเห็น: 0
บุคลากรที่ดี
บุคลากร คือ บุคคลที่ทำงานในองค์กร หรือหน่วยงาน ซึ่งต้องมีความรู้ ความสามารถ และคุณสมบัติตามหน้าที่ที่หน่วยงานกำหนด
ปัจจุบันมีกระบวนการคัดเลือกกันอย่างเข้มข้น ทั้งสอบข้อเขียน สอบปฏิบัติ สอบสัมภาษณ์ ต่างจากสมัยก่อน ที่บางส่วนเป็นการเลือก แต่เท่าที่เห็นผลการปฏิบัติส่วนใหญ่ไม่แตกต่างกัน บางคนที่ถูกเลือกมามีความสามารถ จงรักภักดีต่อองค์กรมากกว่าผลการคัดเลือกปัจจุบัน อาจเป็นเพราะผู้ที่ถูกเลือก ต้องระลึกถึงบุญคุณของผู้ให้โอกาสที่ต้องทำหน้าที่ให้ดี แต่ผู้ผ่านการสอบคัดเลือกอาจคิดว่า ถูกคัดมาด้วยความสามารถจึงไม่ต้องเกรงใจใคร ก็ได้
ไม่ว่า จะถูกคัดเลือก หรือ ถูกเลือก ผู้รับผิดชอบคือ กรรมการสอบคัดเลือก และผู้เลือก ที่ต้องหาคนดีที่สุดในผู้สมัครที่เข้ามาคัดเลือก และผู้ที่ผ่านการคัดเลือก หรือ ถูกเลือกมาทำงาน ต้องมึความรู้ ความสามารถ สูงกว่าผู้สมัครอื่น ๆ ให้กรรมการมองเห็น แสดงถึง บุคคลากรทุกคนมีความรู้ ความสามารถดี เหมาะสมกับหน้าที่ และต้องเป็นความรับผิดชอบของผู้ถูกคัดเลือกด้วย
ส่วนต่อมาเมื่อเป็นบุคคลากรแล้ว ต้องมีการพัฒนา โดยต้องพัฒนาเพื่อปฏิบัติหน้าที่ของตำแหน่ง ต้องเรียนรู้เนื้องานหน้าที่ของตน เนื้องานหน้าที่ของหน่วยงาน คณะ มหาวิทยาลัย เพื่อปฏิบัติให้ดีทั้งของตนและองค์กร ตามบันทึก http://share.psu.ac.th/blog/fnr-devolop/23381 ซึ่งเป็นหน้าที่ตามปกติ
แต่หากต้องการพัฒนาให้ก้าวหน้า ทั้งตนและองค์กรให้เจริญ เป็นบุคลากรที่ดี ต้องใช้แนวในการพัฒนา
1. พัฒนาตนให้ทำหน้าที่ให้ทันสมัย ที่ประกอบด้วย
1.1 กฎ กติกา ระเบียบ แนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับตน หน้าที่ตน องค์กร และประเทศ เช่นไม่ว่าจะเป็นบุคคลากรใด ๆ ก็ต้องรู้เรื่องระบบประกันคุณภาพ ให้ความร่วมมือกันในองค์กร ต้องรู้และช่วยกันประหยัดพลังงาน ประหยัดทรัพยากร เช่น ลดการใช้กระดาษ
1.2 ความทันสมัยของเทคโนโลยีและระบบงาน โดยเฉพาะ การใช้คอมพิวเตอร์ก็ต้องปรับตาม ในด้านการใช้งาน จัดระบบงาน ให้มีประสิทธิภาพ รวดเร็ว ใช้งานกับคนอื่นได้ คือการเรียนรู้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เวอร์ชันใหม่ ๆ รวมถึงระบบงาน เช่น องค์กรใช้ระบบเอกสารอิเลคทรอนิค แต่ยังใช้กระดาษอยู่ แสดงว่าไม่พัฒนา หรือพัฒนาไม่ทันองค์กร
2. พัฒนาตนตามหน้าที่ของหน่วยงาน หมายถึงการพัฒนาตนให้ทำหน้าที่อื่น ๆ ในหน่วยงานได้จริง ๆ ไม่ใช่แค่รับว่าทำงานแทนเพื่อนร่วมงาน แต่ทำงานจริงไม่ได้ ได้แค่รับเรื่องแทน ส่งเรื่องแทน ไม่เรียกว่า ทำหน้าที่แทนเพราะไม่สามารถทำงานให้ลุล่วงไปได้ ดังนั้น ต้องศึกษางานมากกว่าหน้าที่ของตน แต่เป็นของคนอื่น ๆ ในหน่วยงาน เรียกว่า รู้งานของหน่วย สามารถจะพัฒนาให้ทำหน้าที่สูงขึ้น เป็นหัวหน้าหน่วย หัวหน้างาน ฯลฯ
3. พัฒนาด้านจิตสำนึกต่อองค์กร หมายถึง รู้ผลเสีย ผลได้ ในหน้าที่ที่ทำ ว่า ทำ ไม่ทำแล้ว ได้ เสียอะไร เช่น ไฟฟ้าดับจะเกิดผลเสียหายอะไร ต้องมีความรู้สึกเหมือนบุคคลากรทุก ๆ คนในองค์กร ให้มีความรู้สึกรับผิดชอบในหน้าที่ของาน ของหน่วยงาน ขององค์กร
จะเห็นว่า บุคคลากรที่ดีต้องมีทั้งความรู้ ความสามารถ พัฒนาตน พัฒนางาน พัฒนาจิตสำนึก ความรู้สึก ไม่ใช่แค่หน้าที่ตน แต่เป็นคนขององค์กร
และเป็นความรับผิดชอบของหัวหน้า ผู้บังคับบัญชา และบคคลากรทุกคน ในการพัฒนาบุคลากรให้ทำงาน ทำหน้าที่ของงานและองค์กรได้ ทั้งความสามารถ ความรู้สึก และจิตสำนึก ให้ทำงานแทนกัน แทนตน เป็นตัวแทนองค์กร และผู้ที่สำคัญที่สุดคือบุคคลากรที่ต้องมีจิตสำนึกก่อน
บันทึกอื่นๆ
- เก่ากว่า « อยากร่วมทุกข์ หรือ ร่วมสุข
- ใหม่กว่า » กาแฟโบราณ
ร่วมแสดงความเห็นในหน้านี้