ความเห็น: 4
คุณภาพการศึกษาไทย เพราะอะไรจึงตกต่ำ
เหตุเพราะ
- การศึกษาไทย เน้นที่ระบบการศึกษาที่ไม่สอดคล้องชีวิตจริง และการใช้งานจริง จึงใช้เวลา ค่าใช้จ่ายไปกับการเรียนกับสิ่งที่ไม่ได้นำไปใช้ แม้แต่คุณธรรม จริยธรรม การปฏิบัติตนที่เรียนวิชาแบบ แต่ในการปฏิบัติของสังคมจริงเป็นอีกแบบ ทำให้ผู้เรียนเรียนเพื่อสอบไม่ใช้กับชีวิตจริง เพราะไม่เหมือนกัน
- มีที่เรียนมาก จนไม่ต้องแข่งขันกันเข้าเรียน สมัยก่อนการเข้ามหาวิทยาลัยต้องสอบแข่งขัน ถูกคัดเลือก ทำให้เกิดการแข่งขันคัดผู้มีความสามารถจริง ๆ สมัยนี้ก็มีการสอบคัดเลือกแข่งขัน แต่เป็นการแข่งขันที่ไม่เข้มข้น หย่อนกติกา เพราะไม่หย่อนก็ไม่มีผู้เข้าเรียน และตัวชี้วัดจำนวนผู้เรียนต่อผู้สอน บางที่มากไป บางที่ต่ำไป เกณฑ์ก็สูงกว่าสากล ซึ่งต่างคนต่างดันทุรังทำกันไป เพราะไม่สามารถคิดเองความสภาพจริงได้
- จำนวนผู้เรียนต่อผู้สอนไม่สมดุล บางที่ผู้เรียนมากไป อย่างชั้นเรียนเป็น 100 คนขึ้นไป จะหวังคุณภาพจากอะไร แต่บางที่ก็มีผู้เรียนไม่กี่คนแต่ผู้สอนต้องรับผิดชอบหลายห้อง หลายชั้นเรียน
- ยังผิดเพี้ยนของระบบ เช่นแข่งกันให้คะแนนเฉลี่ยนสูง ๆ เพื่อไม่เสียเปรียบในการคัดเลือกขั้นต่อไป ที่เรียกว่า เกรดเฟ้อ กับระบบ admission
ลามถึงระดับอุดมศึกษา วิชาไหนเรียนยาก เรียนมาก คะแนนตามจริง มีผู้เรียนจำนวนน้อย ถูกตีค่าไม่คุ้ม มีปัญหาภาระงานของผู้สอน ทำให้ต้องปล่อยคะแนน หลายวิชาได้ A B แต่ใช้งานไม่ได้
- ค่านิยมสังคมไทย ให้ค่าแค่ใบปริญญามากกว่าให้ความรู้ ที่นำไปใช้จริง
- คนทำนโยบาย มุ่งแต่กระบวนการ ปริมาณ มีผู้จบการศึกษาในสัดส่วนสูง ไม่เน้นคุณภาพจริง ทุกคนต้องผ่านหมด เพราะไม่ผ่านผู้บริหารมีความบกพร่อง ผู้สอนมีข้อบกพร่อง ผู้ปกครองเสียหน้า ต่างจากสมัยก่อนที่ใครที่ไม่ผ่านสายสามัญ ก็ไปสายอาชีวะ วิชาชีพ แต่ปัจจุบันทุกคนมุ่งสายวิชาการ แม้แต่คนที่ไปทางสายวิชาชีพแล้ว
- คนทำนโยบายไม่ได้พัฒนาการศึกษาที่แท้จริง เรียกว่า สักแต่ทำ ทำให้มีความพร้อมไม่เท่าเทียมกัน ทั้งโรงเรียน อุปกรณ์ ผู้สอน ขนาดชั้นเรียน สาขา ความรู้ ความชำนาญของผู้สอน
- การผลิตครู เน้นกระบวนการ เรียนนาน ขาดความรู้ พื้นฐานไม่แน่น
- มีปัญหาการสร้างครู จิตวิญญาณความเป็นครู จึงสอนเป็นหน้าที่ สอนเป็นวิธีการสอน ไม่ใช่สอนมุ่งเน้นพัฒนาคน
- ระบบความก้าวหน้าของครูไม่ตรงกับภารกิจ การสร้างผลงานที่ไม่ใช่หน้าที่จริง ผู้ทำหน้าที่จริงกลับไม่สามารถใช้ได้
ที่กล่าวมา จะเห็นว่า ระบบมั่วไปหมด ทั้งความพร้อม ขนาดชั้นเรียน การคัดเลือก การให้คะแนน การวัดการประเมินผล ระบบการประเมินคุณภาพ รวมไปถึงระบบการเมือง
ที่เปลี่ยนรัฐมนตรี เลขา ผอ. ทุกอย่างก็เปลี่ยนไป ๆ มา ๆ จนไปไม่ถูกว่าจะไปทางไหนกัน ดูอย่างระบบประกันคุณภาพให้ทำไปสี่ปี แต่มาเปลี่ยนตัววัดเอาปีที่ 5 วัดแล้วก็ยังเปลี่ยนอีก วัดกันทีก็วิ่งหา ทำหลักฐานกันมั่วไปหมด จึงหาของจริงไม่เจอ เพราะที่ทำไว้ เตรียมไว้อย่างหนึ่ง แต่วัดอีกอย่าง ?? เหมือนเดิมทำตุ๊กตาสีเขียว แต่พอจะวัดบอกเป็นสีแดงก็แค่นำตุ๊กตาสีเขียวมาทาสีแดง ทำให้เสียเวลาไม่รู้ว่า สีเขียวหรือสีแดงดีกว่ากัน ทำให้หมดแรงกับการทาสี และเสียค่าใช้จ่ายต้องทาทั้งสีเขียวสีแดง คนตรวจกก็ดูสีแดงใช้ได้ ทั้ง ๆที่รู้ข้างในสีเขียว
- คนทำการจัดการระบบการศึกษาไม่เข้าใจความแตกต่างของคน การพัฒนาของคนตามอายุ ไม่แยกว่าใครถนัดอะไร วิทย์ ศิลป์ ทั้งๆ ที่มีกรอบผู้เรียนเป็นสำคัญ แต่ระบบกลับไม่แยกกันเช่นสมัยก่อน จึงมั่วกันไป แยกไม่ออกว่าใครเป็นใคร สอนก็ยาก เรียนก็ยาก
ต้องแก้ระบบการจัดการ เพราะ พ.ร.บ. การศึกษากำหนดไว้ได้ดี แต่ผู้นำไปใช้ไม่เข้าใจ
หากไม่รีบแก้คงด้อยคุณภาพไปเรื่อย ๆ เหมือนกับที่ผ่านมา ซึ่งวันนี้จะเห็นภาคธุรกิจ ระดับบนเป็นต่างชาติ ระดับแรงงานก็ต่างชาติ เพราะคนไทย เป็นหัวก็ไปไม่ถึง เป็นระดับล่างก็ไม่สู้ เป็นระดับกลางที่ถูกจ้างต่ำกว่าปริญญา
ก็ยังไปทราบว่า ใครจะเป็นผู้แก้ ที่ผ่านมายิ่งแก้ยิ่งแย่ลงทุกที อย่างสร้างหลักสูตรครู 5 ปี แทนเป็น 4 +1 คือ นำผู้จบปริญญาตรีสายวิชาการ วิชาชีพมาต่อการสอน ซึ่งจะได้ผู้สอนที่แน่นวิชาการ ใช้เวลาและงบประมาณน้อยกว่า
เป็นเรื่องที่แปลก ที่รู้เหตุแต่แก้ไม่ได้ และยิ่งแก้ยิ่งผิด คงเป็นความไม่มีคุณภาพของคนแก้ ค่านิยม หรือถูกอะไรสาบแช่ง
บันทึกอื่นๆ
- เก่ากว่า « คุณภาพการศึกษาไทย: ลักษณะอาการ
- ใหม่กว่า » Share.psu ช่วงนี้ร่วมสมัย
ความเห็น
ตอนเรียนวัดผลการเรียนรู้ด้วยข้อสอบ
ในระบบคุณภาพที่เห็นเป็นอยู่แถวๆ นี้เน้นกระบวนการเป็นส่วนใหญ่ โดยใช้แนวคิดว่า กระบวนการดี ผลผลิตต้องออกมาดีด้วย
เอกสารจึงมีบานตะเกียงมากกว่าผลที่ดี
เราเอง
01 กุมภาพันธ์ 2555 19:21
#74517
ผมมองว่า ฐานคิดระบบ มีปัญหา เพราะอิงการ "ดัดจริต" และ "มั่ว"
ดีแหละครับถ้าดูรายข้อ
ระบบการศึกษาก็ทำนองนี้แหละครับ เพียงแต่ไม่โจ๋งครึ่มเท่า คือถ้าดูรายละเอียดทีละบรรทัด บอกได้ว่า "งามเริ่ด" แต่ดูแบบรวม ๆ จะกลายเป็น "งามหน้า"