ความเห็น: 1
แผนพัฒนาคณะทรัพยากรธรรมชาติ ปี2554-2559
วันที่ 8 พฤศจิกายน 2554 เป็นวันรับฟังความคิดเห็นแผนพัฒนาคณะช่วงปี 2554-2559 หลังจากที่มีการดำเนินการมาเกือบปีระหว่างคณะและภาควิชา ที่คณะกำหนดทิศทางและกรอบโดยกรรมการประจำคณะ แล้วให้ภาควิชาไปกำหนดทิศทางกิจกรรมของเนื้อหาของภารกิจ การเรียนการสอน การวิจัยและบริการวิชาการ แล้วนำมาเป็นภาพรวมของคณะซึ่งได้มีการส่งกลับไป-มาหลายรอบ เพื่อปรับให้เป็นภาพทิศทางเดียวกันและสอดคล้องกัน ที่สำคัญคือให้มีส่วนร่วมของบุคลากรทั้งระดับภาควิชา ระหว่างภาควิชาในกรรมการประจำคณะ ในที่สุดก็ไปร่างแผนพัฒนาคณะเพื่อนำไปสู่การรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานและองค์กรภายนอก ทั้งภาครัฐและเอกชน ชุมชน ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงศิษย์เก่า
จากชื่อคณะทรัพยากรธรรมชาติ ทำให้ภารกิจของคณะมุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรเพื่อการผลิตทางการเกษตรให้คุ้มค่าและยั่งยืน โดยในร่างของแผนพัฒนาคณะ กำหนดปณิธาน ค่านิยม วัฒนธรรมองค์กร และวิสัยทัศน์ เพื่อเป็นทิศทาง แนวทาง แนวปฏิบัติร่วมกัน
- ปณิธาน ยึดถือประโยชน์เพื่อมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง
- คณะใช้ปณิธานตามพระราชดำรัสของพระราชบิดาที่ให้สอดคล้องกับมหาวิทยาลัย คือ ยึดถือประโยชน์เพื่อมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง เป็นปณิธานการทำงาน ปฏิบัติภารกิจ การหล่อหลอมบัณฑิต
- ค่านิยม พัฒนาเกษตรไทย ใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน
- การปฏิบัติภารกิจและการพัฒนาคณะมุ่งเน้น พัฒนาเกษตรไทย ใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน หมายถึงการปฏิบัติทุกภารกิจของคณะ ไม่ว่าการจัดการเรียนการสอน การผลิตบัณฑิต การวิจัย การบริการวิชาการ ต้องนำไปสู่การพัฒนาการเกษตรของประเทศ และคำนึงถึงคุณค่าและความยั่งยืนของทรัพยากร ที่ยึดทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง คือพอดี สมเหตุสมผล และผลในอนาคตหรือเป็นภูมิคุ้มกัน ภายใต้กรอบคุณธรรม จริยธรรม และปณิธาน
- วัฒนธรรมองค์กร ขยัน กตัญญู รู้งาน สานสามัคคี มีวินัย ไฝ่คุณธรรม ที่ใช้เป็นบุคลิก พฤติกรรมการปฏิบัติงาน และการหล่อหลอมบัณฑิตของคณะ
- วิสัยทัศน์ ทำวิจัยและสร้างองค์ความรู้เพื่อพัฒนาประเทศ และผลิตบัณฑิตคุณภาพสากล ในสาขาการเกษตรและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
โดยกำหนดเป้าหมายที่จะสร้างและใช้ความรู้เพื่อพัฒนาประเทศ ไม่ใช่พัฒนาเพียงคณะ เพื่อให้การพัฒนาประเทศคือคุณค่าของคณะทรัพยากรธรรมชาติ และ
การผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ ความสามารถในระดับสากลเพื่อให้สามารถพัฒนาประเทศได้ในสภาวะการเปิดเสรีการค้า เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้กว้างขวางขึ้น ที่ขณะนี้ภาคการเกษตรของไทยได้ขยายไปในภูมิภาคทั้งในอาเซียน จีน อินเดีย ซึ่งมีทั้งภาคเอกชนของไทย และบริษัทนานาชาติ อย่างบริษัท ซีพี มีกิจกรรมทั้งใน จีน อินเดีย มาเลเซีย อินโดนีเซีย รวมถึงการผลิตในลาว พม่า กัมพูชา เวียตนาม ซึ่งก็มีบัณฑิตของคณะไปทำงานอยู่ทุกแห่ง และจะมีจำนวนเพิ่มขึ้น ล่าสุดบริษัท ปตท.กำลังไปเปิดธุรกิจการทำสวนปาล์มน้ำมันขนาดใหญ่ในประเทศอินโดนีเซีย และได้มาติดต่อคัดเลือกบัณฑิตของคณะไปปฏิบัติงาน ซึ่งคณะจะได้ทำความร่วมมือในการผลิตบัณฑิตร่วมกับภาคเอกชนเหล่านี้เพื่อเตรียมบุคลากรร่วมกันต่อไป
สำหรับตัวเนื้อหาของทรัพยากรธรรมชาติก็จะเน้น ทรัพยากรที่อยู่ในภาคใต้ ทั้ง ปาล์มน้ำมัน ยางพารา ไม้ผล แพะ สัตว์น้ำ รวมถึงการพัฒนาชุมชนการผลิต มาตรฐานการผลิต และการเกษตรที่เป็นโอกาสของภาคใต้ พืชผักบางชนิด เช่น ข้าวโพดหวาน บร๊อคโคลี่ พริก ถั่ว แตง ไม้ดอก ไม้ประดับ เพื่อการใช้ การบริโภคในภูมิภาค
การเปิดการรับฟังจากภาคส่วนภายนอก จะเป็นขั้นตอนสุดท้าย เพื่อนำไปปรับให้สอดรับการภาคผู้ใช้ผลผลิตและบริการ ก่อนนำไปเป็นแผนพัฒนาคณะต่อไป
บันทึกอื่นๆ
- เก่ากว่า « ใครว่ามืออาชีพรวดเร็วฉับไว
- ใหม่กว่า » เรียน 1. เรียนตามสัญชาตญาณ
04 พฤศจิกายน 2554 17:05
#70747
สรุป บุคลากรเข้าร่วมจำนวน 89 คนค่ะ สำหรับภาคเอกชนและภาครัฐบาลที่ตอบรับเข้าร่วมมี 4 หน่วยงานค่ะ