ความเห็น: 0
Impact Factor ใช้วัดคุณภาพการศึกษาไทยได้จริงหรือ
Impact Factor (IF) ซึ่งเป็นคำที่พบเห็นกันบ่อยในช่วงที่มีระบบประกันคุณภาพการศึกษา ที่ใช้บอกว่าวารสารที่นำผลงานวิจัย/ผลงานวิชาการไปตีพิมพ์นั้น ได้รับการนำบทความไปอ้างอิงมากน้อยเพียงใด เป็นการวัดความนิยมของวารสารและประชาสัมพันธ์ว่าวารสารนั้น ๆ ที่ผู้นำผลงานไปลงตีพิมพ์ก็มีโอกาสมีผู้มาอ่านจำนวนมาก ๆ ซึ่งเป็นจัดทำโดยบริษัท Thomson ISI หรือเดิมคือ ISI (Institute for Scientific Information) ตั้งแต่ปี 1997 และประเทศไทยนำยกย่องเชิดชูให้ความสำคัญกันยกใหญ่ในวงการการวิจัยและการศึกษาระดับอุดมศึกษา มีการจัดลำดับชั้นความเป็นสากล ภูมิภาคอาเซียน ประเทศ ภาค จังหวัด ชุมชน ตามคู่มือการประเมินคุณภาพ สมศ. รอบสาม ที่เป็นการแบ่งชั้นวรรณะที่ไม่น่าจะเกิดกับวงการศึกษาระดับสูง และหน่วยงานที่ทำหน้าที่เอาเงินภาษีไปให้นักวิชาการไทยวิจัย ที่ไปส่งเสริมให้นำผลงานวิจัยพิมพ์ภาษาต่างชาติอ่านโดยไม่ต้องลงทุน และทำให้คนไทยส่วนใหญ่ที่เป็นเจ้าของเงินเข้าไม่ถึง อ่านก็ไม่ได้ ค่าวารสารก็แพง
Impact Factor หมายถึง จำนวนครั้งโดยเฉลี่ย ที่บทความซึ่งตีพิมพ์ลงในวารสารนั้น ในรอบ 2 ปีที่ผ่านมา ได้รับการอ้างอิงในปีปัจจุบัน
เช่นบทความที่ตีพิมพ์ในปี 2550 และ 2551 ก็นำมานับว่ามีกี่เรื่อง และก็มาตรวจนับว่าบทความที่ตีพัมพ์ทั้งหมดใน 2 ปีนั้น มีการนำอ้างอิงในบทความวิชาการต่าง ๆ จำนวนเท่าไรในช่วงปี 2551และ 2552
ทีมา: M.R. Jisnuson Svasti and Ruchareka Asavisanu, Scienceasia1513-1874.2007.33.137
นอกจากคำว่า Impact Factor ก็มีคำอื่นที่ทางบริษัทที่จัดททำวารสารคิดขึ้นมาดังในตารางได้แก่
Immediacy Index หมายถึง จำนวนครั้งโดยเฉลี่ย ที่บทความซึ่งตีพิมพ์ลงในวารสารนั้น ได้รับการอ้างอิงระหว่างปีที่ได้รับการตีพิมพ์ (เป็นดัชนีเปรียบเทียบความเร็ว ของการถูกอ้างอิง)
Cited Half-Life หมายถึง จำนวนปีที่นับถอยหลังลงไปจากปีปัจจุบัน ที่มีจำนวนการอ้างอิงคิดเป็น 50% ของจำนวนการอ้างอิงทั้งหมด ที่วารสารนั้นได้รับภายในปีปัจจุบัน
ก็เป็นการแสดงถึงการนำไปอ้างอิงเท่านั้น จะเป็นปีเดียวที่ตีพิมพ์ Immediacy Index ในระยะเวลา 2 ปี Impact Factor และค่าเฉลี่ยระยะยาว Cited Half-Life
วารสารที่มี IF สูง ๆ จะเป็นด้านการแพทย์ที่มี IF 30-50 รองลงมาก็เป็นด้านวิทยาศาสตร์ เช่น Science และ Nature ส่วนวิทยาศาตร์ประยุกต์ เช่น วิศวะ เกษตร ก็ประมาณไม่เกิน 5 ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงต่ำกว่า 2 ลงมา
นอกจากนี้ก็มีการนำมาทำกับวารสารไทย เรียกว่า ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ตามหน้าเว็บ http://www.kmutt.ac.th/jif/public_html/index.html (เข้าไปดูก็จะทราบว่าใครทำ ใครสนับสนุนให้ทำ) วารสารไทยทีทำในปี 2007 มี IF ไม่เกิน 0.400
สำหรับวารสาร ม.อ. ฉบับวิทยาศาสตร์สุขภาพ มี FI 0.054 ฉบับ วทท. มี FI 0.091 ฉบับมนุษย์และสังคมศาสตร์ มี FI 0.043
จากเนื้อหา IF เป็นอะไร ทำเพื่ออะไร ของใคร ธุรกิจ ต่างชาติ และเป็นการวัดความเก่งกล้าสามารถของคุณภาพการศึกษาไทย วัดความเป็นนานาชาติได้จริงหรือ คงฝากให้คิดกันเอง
- ประเทศจะเจริญก้าวหน้าด้วยการตีพิมพ์บทความในวารสารที่ FI สูง ๆ ???
- นักศึกษาจะเลือกเรียนที่ใดด้วยการดูส่วนนี้ IF ???
- ประเทศไทยใช้เงินนับล้านบาทเพื่อทำวิจัยแล้วตีพิมพ์ในวารสารที่มี IF สูง ๆ คือเป้าหมายการวิจัยที่สากลเขายึดกัน ???? คงใช่เฉพาะที่ สกอ. นำมาเน้นว่าเป็น มหาวิทยาลัยวิจัย การกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ และกำหนดให้ผู้ที่เป็นศาสตราจารย์ตีพิมพ์บทความในวารสารนานาชาติ เพื่อใคร ???
ที่สำคัญ คนไทยได้อะไร คุณภาพการศึกษาดีขึ้น แข่งขันกับนานาชาติได้มากขึ้น หากไม่ใช่ ใครต้องรับผิดชอบ รวมถึงการประเมินเพื่อประกันคุณภาพมาตรฐานการศึกษาสองรอบ และกำลังที่ประเมินรอบสาม ที่ตัวชี้วัดที่ยุ่งยากทางระบบเอกสาร หลักฐาน ภาระงานธุระการ ใช่ที่จะพัฒนาคุณภาพการผลิตบัณฑิต การวิจัย บริการวิชาการ และพัฒนาประเทศ ??? เท่าที่ดูยังไม่เห็นว่าจะพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทยได้ตรงไหน อย่างไร
บันทึกอื่นๆ
- เก่ากว่า « การใช้ facebook สื่อสารสอบถามของ...
- ใหม่กว่า » Thai Journal Impact Factors (TCI...
ร่วมแสดงความเห็นในหน้านี้