ความเห็น: 0
ตำแหน่งและอัตราเงินเดือนตามระบบแท่ง ของ กพอ. ประกาศแล้ว 3. การประเมินการเลื่อนขั้นตามระบบแท่ง
จากตอนที่ 1 http://share.psu.ac.th/blog/fnr-devolop/18721 และที่ 2 http://share.psu.ac.th/blog/fnr-devolop/18722
มาตอนที่ 3 เป็นการดำเนินการสำหรับรอบเดือน เม.ย. 54 เป็นต้นไป ก็ไม่มีขั้นเงินเดือนอีกแล้ว แต่จะเลื่อนเป็น % ตามผล ปริมาณ และพฤติกรรม คุณภาพการทำงาน ที่เทียบกับมาตรฐานตำแหน่ง เทียบกับบุคลากรในภาควิชา/หน่วยงาน
หลายท่านที่เดิมทำงานต่ำกว่ามาตรฐาน โดยเฉพาะ ผู้ที่มีตำแหน่งทางวิชาการ ดร. ผศ. รศ. ศ. ชำนาญการต่าง ๆ ต้องมีงานตามมาตรฐาน คือ มีงานวิจัย การทำวิจัย ผลงานวิจัย งานบัณฑิตศึกษา และผลงานพัฒนางานของผู้มีตำแหน่งชำนาญการ อันเนื่องการปรับขยายเพดานเงินเดือนและค่าตอบแทนประจำตำแหน่ง เดิมไม่มีงานเหล่านี้ก็ได้ปรับครึ่งขั้นในแต่ละรอบ แต่ต่อไปจะต้องประเมินตามผลการทำงานที่ทำ และท่านที่มีผลงานและภาระงานมากกว่ามาตรฐาน มากกว่าเพื่อนร่วมงาน ถึงจะได้มากกว่าหนึ่งขั้นในแต่ละรอบ ซึ่งเดิม 1 ขั้นเท่ากับ 4% ระบบใหม่สามารถเลื่อนได้ถึง 6% แต่ก็ขึ้นกับว่ามีกรอบเพียงพอหรือไม่ และเพื่อนร่วมเงินมีผู้ที่ผลปฏิบัติงานต่ำจำนวนมากจนมีเงินให้ปรับได้
ดังนั้น ใครที่ได้ปรับมาก ๆ ต้องขอบคุณที่ปฏบัติงานน้อย แต่โดยทั่วไปก็คงใกล้เคียงกับเดิม เพราะระบบจำกัดจำนวนเงินมาเป็บกรอบในลักษณะคล้าย ๆกับโควต้า 2 ขั้นเดิม ที่มีเงินทำงานดีเด่นอย่างไรก็ได้ไม่เกิน 15 % ของแต่ละกลุ่ม ซี 1- 8 และ ซี 9 ขึ้นไป
กรรมการประเมินต้องดูให้เป็นธรรมกับแต่ละคน และผู้ที่จะได้รับการปรับสูงกว่ามาตรฐาน ต้องมีผลการปฏิบัติสูงกว่ามาตรฐาน จึงเรียกว่า ความดีความชอบ คือทำงานดีกว่าคนอื่น ต้องสูงกว่ามาตรฐานตำแหน่ง
ผู้ทำงานดีในอยู่ในกรอบมาตรฐานหน้าที่ก็จะได้ในระดับมาตรฐาน ไม่เรียกว่าความดี ความชอบ เช่นเดียวกับการทำข้อตกลงซื่อ-ขาย เช่นตกลงว่า ทำก้วยเตี๋ยว 100 ชาม ในเวลา 3 ชั่วโมง หากทำได้ตามข้อตกลงก็ไม่มีมูลค่าเพิ่ม ที่บางท่านเข้าใจผิดว่า ทำงานในหน้าที่อย่างดี ทำไมไม่มีความดี ความชอบ ก็เพราะยังไม่มีมูลค่าเพิ่ม เปรี่ยบกับการทำก้วยเตี๋ยวก็ต้องทำมากกว่า 100 ชาม หรือใช้เวลาน้อยกว่า 3 ชั่วโมง คือต้องมีรายได้เพิ่มจึงจะมีเงินมาจ่ายเพิ่ม
ในทำกลับกัน หากทำงานได้น้อยกว่ามาตรฐานก็ต้องได้ลดลงตามส่วน นี้คือระบบใหม่ที่พอขยับให้แตกต่างกันได้ ซึ่งระบบเดิม คนทำน้อยก็ได้ 1 ขั้นต่อปีตามข้อตกลง คนทำได้ดีและสูงกว่ามาตรฐานหลาย ๆ คน ก็ปรับได้ไม่เกิน 15%ของโควต้า และรวมถึงกรอบงบวงเงิน
ข้อเสียของระบบแท่งก็มี เช่นหากในหน่วยงานมีคนขยันขันแข็ง ทำงานดี สูงกว่ามาตรฐานเป็นส่วนใหญ่ จะปรับได้เท่า ๆ กันประมาณสัดส่วนกลาง ๆ เพราะไม่มีกรอบวงเงินให้ใช้ปรับ ซึ่งก็ยังแตกต่างจากภาคธุรกิจ ที่หากทำกำไรกันมาก ๆ ก็นำมาปรับได้มาก
เท่าที่ดูมาก็ยังไม่มีหน่วยงานใดมีแต่คนเก่งมาก ๆ แต่ก็มีหลายหน่วยงานที่มีคนทำงานต่ำกว่ามาตรฐาน และเอาเปรียบหน่วยงานสังกัด เช่นไปสอนพิเศษ รับค่าตอบแทนจากที่อื่น แล้วเลื่อนสอนงานประจำของหน้าที่ หรือปรับระดับ ตำแหน่ง เงินเดือน แต่ไม่สร้างผลงาน พัฒนางาน
หวังว่าระบบใหม่ จะช่วยให้ผู้ที่ทำงานดี ทำงานมาก ได้เพิ่มสัดส่วนขึ้นบ้าง
ผู้ที่ทำงานน้อย ต่ำกว่ามาตรฐาน คุณภาพและพฤติกรรมการทำงานต่ำ ก็จะได้ปรับตามสัดส่วนตามความจริง
บันทึกอื่นๆ
- เก่ากว่า « ตำแหน่งและอัตราเงินเดือนตามระบบแ...
- ใหม่กว่า » ความเป็นมหาวิทยาลัยกับบทบาทการจั...
ร่วมแสดงความเห็นในหน้านี้