ความเห็น: 0
ความสำคัญของการเกษตร ด้านปริมาณ ประเภท คุณภาพ และผลกระทบ
1.1 ด้านปริมาณ
UN ได้พยากรณ์ว่า ประชากรโลกจะเพิ่มขึ้นเป็น 7.5 พันล้านคนในปี ค.ศ. 2020 จาก 6.79 พันล้านคนในปี ค.ศ. 2010 (http://www.un.org/esa/population/publications/sixbillion/sixbilpart1.pdfค้นเมื่อ 13 พ.ย. 2553)
และเพิ่มเป็น 9.75 พันล้านคน ในปี ค.ศ. 2050 หรืออีก 40 ปีข้างหน้า แสดงว่า ความต้องการอาหารเพิ่มขึ้น ประมาณ 10.46% ใน 10 ปีข้างหน้า และ 43.60% ในอีก 40 ปีข้างหน้า หรือในปี 2050 ที่ทำให้ความต้องการอาหารและผลผลิตการเกษตรมีปริมาณเพียงพอใช้เช่นในสภาพปัจจุบัน ที่ยังมีประชากรโลกบางกลุ่มยังได้รับอาหารเพียงพอ ทั้งปริมาณ คุณภาพ สารอาหาร และความปลอดภัย เรียกว่ายังเข้าไม่ถึงอาหารที่มีคุณค่า แม้แต่ประเทศที่ผลิตอาหารอย่างประเทศไทยที่มุ่งส่งออกอาหารที่มีคุณภาพสูง ในขณะคนไทยจำนวนมากรับประทานเพียงเศษอาหาร รวมทั้งร้านอาหารที่จำหน่ายในสถานศึกษา ทั้งโรงเรียนจนถึงระดับมหาวิทยาลัย เนื่องจากมุ่งแต่จำกัดด้านราคา โดยไม่เคยคำนึงถึงคุณค่า คุณภาพของสารอาหาร ที่ทำให้คนไทยมีสุขภาพไม่ดี ทั้งสติปัญญา แม้แต่กำลังกายที่ทำให้ต้องใช้แรงงานจากต่างประเทศจำนวนเพิ่มขึ้นตามลำดับ ซึ่งต่างจากบางประเทศ เช่นประเทศเกาหลีที่เน้นว่า อาหารที่ดีที่สุดที่ผลิตได้ต้องให้คนเกาหลีได้รับประทานก่อน แม้แต่โสมเกาหลีส่วนที่มีคุณภาพดีที่สุดจะจำหน่ายเฉพาะในประเทศเกาหลีเท่านั้น เพราะถือว่า ประชาชนเกาหลีต้องได้รับของดี มีสุขภาพแข็งแรง มีสติปัญญา ความสามารถ จึงทำให้ประเทศเกาหลีเป็นประเทศที่พัฒนามากที่สุดในช่วง 10-20 ปีที่ผ่านมานี้
ที่กล่าวมาเป็นความต้องการด้านอาหารและผลิตผลการเกษตรในด้านอาหารและผลิตผลดังเช่นปัจจุบันเท่านั้น แต่ความต้องการที่สำคัญของผลผลิตจากการเกษตรที่สำคัญอีกด้าน คือ พลังงานที่ต้องใช้ทดแทนพลังงานจากน้ำและพลังงานจากฟอสซิล ซึ่งมีความต้องการเพิ่มขึ้นทั้งจำนวนประชากรโลกที่เพิ่มขึ้น พลังงานที่ใช้อยู่ปัจจบันมีจำกัดในด้านพลังงานน้ำที่เขื่อนต่าง ๆ และพลังงานฟอสซิลที่กำลังลดลงอย่างรวดเร็ว
ดังนั้น จะเห็นว่า ความต้องการเชิงปริมาณของผลผลิตการเกษตรในอนาคตนั้น มีความต้องการเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล ทั้งอาหาร ผลิตผลการเกษตรในรูปอื่น ๆ และพลังงาน
การเพิ่มของประชากรโลกตั้งแต่ปี ค.ศ.1750 และประมาณการจนถึง ปี ค.ศ. 2550 ในพื้นที่ประเทศกำลังพัฒนา และพื้นที่ประเทศอุตสาหกรรม
ที่มา http://www.un.org/esa/population/publications/wpp2006/English.pdfguardian.co.uk
2.2 ด้านคุณภาพและคุณค่า
จากรูป จะเห็นว่า ประชากรโลกที่เพิ่มขึ้นในช่วงตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1950 เป็นต้นมา เป็นสัดส่วนการเพิ่มของประชากรอยู่ในประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งรวมถึงประเทศที่ไม่สามารถพัฒนาได้ด้วย ในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยที่สัดส่วนของประชากรที่อยู่ประเทศอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นเล็กน้อย และเกือบไม่เพิ่มเลยตั้งแต่บัดนี้ ปี ค.ศ. 2010 เป็นต้นไป
จากสภาพสิ่งแวดล้อมของโลกที่มีปัญหา ทำความต้องการอาหารที่มีคุณภาพ เน้นที่สารอาหารที่เรียกว่า functional food และปลอดภัยทั้งจากสารปนเปื้อน จุลินทรีย์ และผู้ที่มีความสามารถในการซื้อและเข้าถึงอาหารที่มีคุณภาพ คุณค่า และปลอดภัย มีเพียงประมาณ 10% เท่านั้น
อย่างไรก็ตาม จากสภาพสิ่งแวดที่เสื่อมโทรมลง ปัญหาการปนเปื้อนของสารเคมี การแพร่ระบาดของเชื้อโรค ประชากรโลกทุกส่วนจึงจำเป็นต้องบริโภคอาหารที่มีคุณค่า และปลอดภัย เพื่อให้มีสุขภาพแข็งแรง มิฉะนั้น อาจเจ็บไข้ อ่อนแอ เป็นแหล่งเชื้อโรค และเป็นภาระของทุกคนในโลก ยิ่งในโลกยุคการค้าเสรีที่มีการเคลื่อนย้ายผลผลิต แรงงาน ยิ่งทำให้เกิดความเสี่ยง และเป็นภาระซึ่งกันและกันมากขึ้น ซึ่งรวมถึงปัญหาทางสังคม เช่นในประเทศไทย ที่โรคติดต่อหลายชนิดที่เคยป้องกันกำจัดให้หมดไปแล้ว ได้กลับมาใหม่จากการเคลื่อนย้ายแรงงานที่มีผู้ที่เป็นพาหะ ยิ่งมีกระบวนการจัดการที่ไม่เหมาะสม ขาดการป้องกันจัดการที่ดี จึงทำให้มีความเสี่ยงมากขึ้น เป็นภาระของประเทศมากขึ้น รวมถึงปัญหาอาชญากรรมด้วย ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วในปัจจุบันและมากยิ่งขึ้นในอนาคต
จึงเห็นได้ว่า การเกษตรมีความสำคัญต่อความเป็นอยู่ ทั้งปริมาณ คุณภาพ ประเภท(พลังงาน) และผลกระทบทางสังคม ที่ทุกคน ทุกฝ่าย ต้องให้ความสำคัญร่วมกัน ทั้งในปัจจุบันและอนาคต
บันทึกอื่นๆ
- เก่ากว่า « น้ำท่วมหาดใหญ่ 53 อย่าให้แค่ผ่าน...
- ใหม่กว่า » การพัฒนาระบบบริการบนเครือข่ายคอม...
ร่วมแสดงความเห็นในหน้านี้