ความเห็น: 2
ประกันคุณภาพการศึกษาไทย เพื่อพัฒนาอะไร ๓ การชี้วัดที่มากและเหมามั่ว
- การมีตัวชี้วัดมากเกินไปและไม่สอดคล้องกับแต่ละสภาพของแต่ละสถานศึกษา ที่สำคัญเป็นการวัดแบบลัทธิเอาเด่น แค่อยากเหมือนคนอื่น ไม่สอดคล้องกับสภาพของไทยที่ไม่ได้มุ่งเน้นคุณภาพของผู้เรียนอย่างจริงจัง เช่น จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาต่อผู้สอน ที่เพิ่มเป็นเท่าตัวของมาตรฐานสากลทั้ง ๆ ผู้เรียนมีความสามารถต่ำ ที่ต้องการการดูแลใกล้ชิด ลองนึกภาพดู การสอนภาษาห้องหนึ่งมีจำนวนนักศึกษา ๔๐-๕๐ คน หรือมากกว่า จะฝึกออกเสียงอย่างไร คาบการสอนหนึ่งมีเวลา ๕๐ นาที หากให้ฝึกออกเสียง ก็คงได้แค่คาบการสอนละ ๑-๒ ประโยคเท่านั้น และคงไม่สามารถคาดหวังผลได้ โดยเฉพาะการศึกษาของไทยที่เป็นกระบวนการสอนแบบป้อนอัดความรู้ เน้นการติว สอบแบบเลือกคำตอบ ไม่มีกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง พูดง่ายเรียนแบบคอยอ้าปากกินเท่านั้น ไม่สามารถหุงหาอาหาร และไม่มีสิทธิแม้แต่เลือกกินอาหาร จึงคิดเองไม่เป็น หาเองไม่ได้ เคยพูดคุยกับคนจีนในการเรียนภาษาจีน กำหนดจำนวนผู้เรียนไม่เกินห้องละ ๒๕ คน
- การมีตัวชี้วัดบังคับมากมาย จนไม่สามารถออกแบบระบบให้สอดคล้องกับสภาพความจริงได้ อาจมีการแย้งว่า สถาบันศึกษาสามารถเพิ่มตัวชี้วัดที่ต้องการเพิ่มเติมได้ ความจริงก็คือ ตัวชี้วัดจำนวนที่กำหนดก็ทำไม่ไหวแล้ว ที่สำคัญตัวชี้วัดทุกตัวมีคะแนนบังคับไว้หมด การมีตัวชี้วัดเพิ่มก็ไม่มีความหมายในการประเมิน และตัวชี้วัดก็ไปลอก ๆ เขามาจึงไม่สอดคล้องกับสภาพของคนไทย
- ระบบการประเมินที่เหมามั่วไปหมด ได้ศึกษาระบบของ Malcolm Baldrige National Quality Award ให้เน้นขับเคลื่อนเฉพาะตัวที่สำคัญที่ต้องไปขับเคลื่อนคุณภาพของผลผลิตเท่านั้น ซึ่งหมายถึงเลือกเฉพาะตัวที่มีผลต่อคุณภาพของผลผลิตจริง ๆ เท่านั้น ไม่ใช่เหมามั่วไปทุกตัว ที่ทำให้ยิ่งทำยิ่งต้องให้แรงงาน ทรัพยากร เวลา และคนทำงานจำนวนมาก จะเน้นไปใช้ด้านใดด้านหนึ่งก็ไม่ได้ เพราะมันต้องใช้ประเมินและคิดคะแนนทุกด้าน ผลก็คือยิ่งทำคุณภาพผลผลิตยิ่งแย่ลง
บันทึกอื่นๆ
- เก่ากว่า « การสังเกตศึกษาคือค่าที่แท้จริงขอ...
- ใหม่กว่า » คุยเรื่องศิษย์เก่าคณะทรัพยากรธรร...
08 กุมภาพันธ์ 2553 09:14
#53896
ตรงประเด็นครับ
คิดเหมือนกับอาจารย์