ความเห็น: 0
การประเมินคุณภาพภายใน คณะทรัพยากรธรรมชาติ ปีการศึกษา ๒๕๕๑
การประเมินคุณภาพภายในของคณะทรัพยากรธรรมชาติ ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๑ คณะกรรมการ ซึ่งมีท่าน รศ. นพ. สุธรรม ปิ่นเจริญ เป็นประธาน มี ศ.ดร. ไพศาล เหล่าสุวรรณ เป็นผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก และมีกรรมการจากคณะต่าง ๆ ตาม http://share.psu.ac.th/blog/quality-1/13850
คณะกรรมการได้ดำเนินการในวันที่ ๓๐ ก.ย.–๑ ต.ค. ๕๒ ความจริงคณะได้จัดทำรายงานแล้วเสร็จตั้งแต่เดือน มิ.ย. ๕๒ แต่เนื่องจากกรรมการมีภารกิจ จึงเข้าประเมินได้ในวันดังกล่าว
ผลการประเมินมีคะแนน ๙ องค์ประกอบเพิ่มขึ้นจากปีก่อน จาก ๔.๑๑ เป็น ๔.๓๙
ซึ่งกรรมการได้นำเสนอผลเบื้องต้นที่ทำให้คณะเห็นสิ่งที่ต้องนำไปพัฒนาอีกหลาย ๆ จุด จากสิ่งที่คณะกำลังดำเนินการ เช่น
การจัดทำหลักสูตรนานาชาติ สาขาวิชายางพารากับCIRAD ของฝรั่งเศสที่กำลังเร่งหลักสูตรร่วมกัน แต่ต้องใช้เวลาทำความเข้าใจปรับระบบที่แตกต่างกัน ให้สามารถดำเนินการร่วมกันได้ รวมถึง ม.เกษตรศาสตร์ ซึ่งเป็นส่วนร่วมอีกสถาบันหนึ่ง
จุดเน้นการวิจัยเรื่อง ยางพารา ปาล์มน้ำมัน และแพะที่คณะได้รับการยอมรับ
โดยยางพารา ที่ทาง CIRAD ได้เข้ามาร่วมทำงานด้วย
ปาล์มน้ำมัน ก็ทำงานร่วมกับ GTZ ของเยอรมันในการจัดอบรมเกษตรกรเรื่องการจัดการสวน และมีนักวิชาการที่ได้รับเชิญให้ไปให้ความรู้อย่างต่อเนื่องทั่วประเทศ รวมทั้งกำลังดำเนินการผลิตต้นกล้าเพื่อจำหน่ายให้นำไปเพาะปลูกจากการวิจัยของคณะ
ด้านแพะได้ทำข้อตกลงทำงานร่วมกับกรมปศุสัตว์ ไปเมื่อเดือน ก.ย. ๕๒ นี้
นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยที่ได้รับการยอมรับในทุกสาขาของคณะ เช่น ทางวาริชศาสตร์มีการทำงานร่วมกันทั้งจาก นอร์เวย์ ญี่ปุ่น อเมริกา แคนาดา
ด้านการจัดการดินและปุ๋ย ด้านการจัดการศัตรูพืช รวมถึงการพัฒนาการเกษตร ซึ่งเป็นผู้นำในระบบการทำสวนยางในความร่วมกับ CIRAD
คณะมีหลักสูตร ป.โท เอก ที่สามารถเรียนได้ทุกสาขาวิชา โดยในปีที่ผ่านมามีมหาบัณฑิตชาวอินโดนีเซีย ๒ คนในสาขาวิชาพืชศาสตร์ ซึ่งกำลังจะศึกษาต่อระดับปริญญาเอกหนึ่งคน
และมีหลักสูตร ป.เอก ๓ สาขาวิชา คือ สาขาวิชาพืชศาสตร์ วาริชศาสตร์ โดยเฉพาะสาขาวิชาการจัดการทรัพยากรเกษตรเขตร้อนที่เป็นที่เปิดให้เข้าเรียนได้ในทุกสาขาวิชา
คณะมีอาจารย์วุฒิ ป.เอก ๖๘% ดำรงผู้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ ๗๘% มีสัดส่วนผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์เผยแพร่ ๐.๗๕ ต่อคนต่อปี
มีงานเกษตรภาคใต้ที่เป็นเวทีเผยแพร่ผลงาน พัฒนาและส่งเสริมสินค้าการเกษตร ที่สำคัญเป็นแหล่งฝึกประสบการณ์จริงของนักศึกษา มีวิชาสหกิจศึกษาร่วมกับภาคเอกชนและหน่วยงานอีกหลาย ๆ แห่ง
และมีการนำหลักสูตรระบบการผลิตที่ดีทางการเกษตรของ มกอช. มาฝึกอบรมให้แก่นักศึกษาร่วมกับ มกอช.
มีผลการประเมินความพึงพอใจของนายจ้าง/ผู้ใช้บัณฑิต รุ่นปีการศึกษา 2549 ที่ดำเนินการโดยกองแผนงาน ดังในตาราง
ความรู้ความสามารถ | คะแนน (เต็ม 10) | ระดับความพึงพอใจ |
วิชาการ/วิชาชีพ | 7.68 | พึงพอใจมาก |
ความรู้ความสามารถทั่วไป | 7.79 | พึงพอใจมาก |
บุคลิกภาพ | 8.20 | พึงพอใจมากที่สุด |
คุณธรรมจริยธรรมและ จรรยาบรรณในวิชาชีพ | 8.60 | พึงพอใจมากที่สุด |
อย่างไรก็ดี ก็ยังประเด็นที่ต้องกำหนดความชัดเจนเพิ่มขึ้นในทิศทางการวิจัยและอีกหลายส่วน เพื่อให้เกิดประโยชน์กับประเทศยิ่งขึ้น
ต้องขอขอบคุณบุคลากรของคณะทุกภาคส่วนที่ได้ร่วมกันทำงานอย่างเต็มที่จนมีผลประเมินที่ดีขึ้น รวมถึงนักศึกษา ศิษย์เก่าที่ได้ออกไปปฏิบัติหน้าที่อย่างดีทั้งในและต่างประเทศ
ขอบคุณคณะกรรมการประเมินทุกท่านที่ได้ทำหน้าที่อย่างเข้มแข็ง และชี้ประเด็นที่สำคัญและเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาต่อไป
สิ่งสำคัญที่ต้องได้รับความสนับสนุนโดยเร็ว คือการพัฒนาเครื่องมือ อุปกรณ์ ที่เก่า ไม่ทันสมัยและไม่เพียงพอกับทั้งการเรียนการสอนทั้งระดับปริญญาตรี และบัณฑิตศึกษา โดยเฉพาะการวิจัยที่ต้องดำเนินการในเชิงลึกและทันสมัย
บันทึกอื่นๆ
- เก่ากว่า « อย่าปล่อยให้ความรู้ลอยนวล
- ใหม่กว่า » การจัดการศึกษาไทย จุดแข็งสร้างจุ...
ร่วมแสดงความเห็นในหน้านี้