ความเห็น: 2
ข้อคิด การจัดการศึกษาเพื่อคุณภาพ (ของใคร)
เคยไปประเทศจีนเพื่อทำความร่วมมือในการเรียนภาษาจีน ก็พบว่า ห้องเรียนภาษาจีนนั้น กำหนดให้มีผู้เรียนต่อห้องประมาณ ๒๕ คน คือถ้าน้อยเกินไปก็ไม่คุ้มกับการสอนของอาจารย์ ถ้ามากเกินไปก็สอนไม่มีประสิทธิภาพต่อการเรียนการฝึกฝน
แล้วของไทยเราละ จำนวนผู้เรียนต่อห้องเท่าไร มีเทคโนโลยีเป็นตัวช่วยหรือตัวใช้เรียน อย่างเพียงพอหรือไม่ การเรียนด้วยการสอนให้จำโดยไม่มีกระบวนการเรียนรู้อย่างสมัยก่อนที่มี การคัดไทย (คือเขียนให้อ่านได้) เขียนไทย(เขียนให้ได้สาระ) เรียงความ ย่อความ เป็นการเรียนรู้ จับประเด็น วิเคราะห์สังเคราะห์ไปสร้างความรู้ใหม่ ซึ่งเป็นวิถีของการปฏิบัติงานจริง และเรียนรู้ที่จะดำรงชีพและพัฒนาในสภาพแวดล้อมของเราเอง ไม่ใช่แค่อ่าน คัดลอก ตัดปะ ไปลอกตำราฝรั่งต่างชาติมาเล่าให้ฟังบอกว่าเป็นการสอน ก็เรียกกันว่าสอนหนังสือ เลยลืมนึกถึงการสอนคนให้คนพัฒนา ซึ่งสำคัญกว่าการสอนหนังสือแน่ ๆ สำหรับการเป็นโรงเรียนและมหาวิทยาลัย
ดังนั้น คุณภาพการศึกษาไทยก็เป็นอย่างที่เห็นและตระหนกกันอยู่ทุกวัน ที่แย่ไปกว่านั้น คือต้นแบบที่เป็นอยู่ทุกวัน ยังไม่เหมือนคำสอนบทเรียน และบางครั้งคนสอนก็ไม่ทำอย่างที่สอน ดูอย่างการประชุม มีน้อยรายการที่เริ่มได้พร้อมเพรียงกันตรงเวลา แต่พอนักศึกษาเข้าห้องสาย ผู้สอนก็ไม่พอใจ เป็นต้น แล้วคิดหรือผู้เรียนจะทำอย่างที่สอน ผู้เรียนก็ฉลาดพอที่จะเรียนเพื่อสอบ ไม่สนใจที่จะเรียนเพื่อรู้และนำไปใช้ มิหนำซ้ำยังเอาผู้สอนไปติฉินนินทา ตั้งท่าล้อเลียน โดยเฉพาะผู้สอนที่ชอบดุด่า
อยากเห็นการศึกษาไทย ทำกันอย่างรู้ว่าเรียนไปเพื่อดำรงชีพอยู่อย่างมีคุณภาพ ปรับตัวตามธรรมชาติที่ปรับไปตลอดเวลาได้อย่างยั่งยืน ไม่ใช่เรียนไปต่อสู้กับคนอื่น ไม่ว่าใครในโลก แต่เพื่อตัวเอง เพื่อเพื่อนร่วมโลก ในการแบ่งปัน ช่วยเหลือกัน ตามความสามารถและถนัดของแต่ละคนที่ธรรมชาติให้มาแตกต่างกัน เพื่อให้มาพึ่งพาอาศัยกัน ไม่ใช่แข่งขันกันและกัน และเป็นแบบเดียวกัน ซึ่งเป็นไปไมได้
ถึงเวลาที่มาร่วมกันสอนกระบวนการเรียนรู้ แทนการสอนความรู้แล้ว
Other Posts By This Blogger
ความเห็น
![]() |
สงสารครูที่สอนคนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ต้องหวนกลับมาสอนเพื่อสอบสาระพัดสอบ ทางรอดและทางเลือกก็คือสอนข้อสอบ ติวเข้มจากข้อสอบเก่า กระบวนการเรียนรู้ที่เกิดจากเด็กจึงถูกละเลย โรงเรียนกวดวิชาผุดเป็นดอกเห็ด ครูธุรกิจก็สอนพิเศษ ผู้ปกครองก็วิ่งตาม ความภูมิใจของทุกฝ่ายจึงอยู่ที่คะแนนสอบมากกว่าจะเห็นเด็กเป็นคนดีมีความสุข
17 March 2009 09:00
#42411
มีหนังสือน่าอ่านมาก เล่มหนึ่งครับ
ชื่อ "สังคมปรนัย" เขียนโดยนายแพทย์โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์
เรื่องตอนแรกคือ"โรงเรียนปลากระป๋องกับอนุสาวรีย์"
ก็ออกแนวคิดเดียวกับที่อาจารย์เขียนนี่แหล่ะครับ