ความเห็น: 5
เรื่องของต้นไม้ดอกเหลือง
เมื่อวาน (๑๒ ม.ค. ๕๒) พอมีเวลาหลังการไปประชุมที่ สนอ. จึงแวะไปทักทายสวัสดีปีใหม่กับบุคลากรของ กบศ. เพื่อนร่วมทำงานกันมา มีผู้ถามว่า ต้นไม้ดอกเหลืองที่ปลูกที่แปลงคณะทรัพยฯ ด้านซ้ายของประตูศรีทรัพย์ขาออก คือต้นไม้อะไร ขอให้นำมาแชร์ให้รู้จักกันเผื่อคนข้องนอกมหาวิทยาลัยมาถามจะได้ตอบถูก
ต้นไม้ดังกล่าว มีชื่อว่า ปอเทือง มีชื่อภาษาอังกฤษว่า sunhemp มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Crotalaria juncea เป็นพืชตระกูลถั่วชนิดหนึ่ง ที่ใช้ปลูกทำปุ๋ยพืชสดมานานในพื้นที่อื่นๆ ยกเว้น ภาคใต้ ดังนั้น เราจึงไม่ค่อยคุ้นเคยกับพืชนี้ คือปลูกจนถึงระยะออกดอกก็ทำการไถกลบหมักเป็นปุ๋ยบำรุงดินหมุนเวียนกับพืชเศรษฐกิจ ทั้งในนาข้าว พืชไร่ พืชสวน ไม่ได้ถ่ายรูปมาให้ดู เพราะต้องการให้มาดูของจริง หากต้องการดูรูปมีเว็บไซต์หลายเว็บ เช่น http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=bigbite&date=09-11-2007&group=5&gblog=71 ส่วนเนื้อหาวิชาการก็เปิดดูจากเว็บ เพียงใช้คำว่า ปกเทือง ก็มีเว็บมากมาย
ปอเทืองนอกจากใช้เป็นปุ๋ยพืชสดแล้ว ยังมีเส้นใยคล้ายพืชจำพวกปอ เช่น ปอกระเจา ปอแก้ว รวมทั้งการนำเส้นที่ต้นมาทำเยื่อกระดาษ แต่เส้นใยไม่ค่อยเหนียวนัก จึงไม่ใช้เป็นพืชเศรษฐกิจจำพวกปอ
ส่วนที่คณะทรัพยฯนำมาปลูก เพื่อการบำรุงดิน และเป็นพืชหมุนเวียนกับแปลงผักฝึกงานของนักศึกษาปีหนึ่งของคณะ นอกจากบำรุงดินแล้ว การปลูกพืชหมุนเวียนยังเป็นการตัดวงจรโรค แมลงที่สะสมในแปลงด้วย พื้นที่ดังกล่าว นอกจากใช้เป็นแปลงฝึกงาน ยังเป็นพื้นที่สำหรับทำวิจัย ทั้งของอาจารย์ วิทยานิพนธ์ ปัญหาพิเศษ ด้วย ส่วนปอเทือง นอกจากเป็นพืชบำรุงดินที่พืชตระกูลถั่วที่มีปมที่รากที่เกิดการอยู่ร่วมกันกับแบคทีเรียที่ชื่อ ไรโซเบี้ยม ที่สามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศมาใช้งานได้แล้ว ยังเป็นไม้ประดับที่มีดอกสีเหลืองในลักษณะเป็นทุ่งสวยงาม ที่หลาย ๆ พื้นที่ เชิญชวนไปเยี่ยมชมทุ่งปอเทือง ในพื้นที่คณะทรัพยฯ คงต้องรีบมาชม เพราะกำลังจะหมดช่วงการออกดอกแล้ว ที่ยังไม่ไถกลบเพราะจะรอเก็บเมล็ดไว้ทำพันธุ์ก่อนสำหรับการปลูกครั้งนี้
ทีนี้ พอพูดถึงการฝึกการปลูกผัก จึงขอทำความเข้าใจว่าทำไมเรียนมหาวิทยาลัยยังต้องปลูกผัก ที่สำคัญต้องเตรียมแปลงเองด้วยจอบ ทั้งนี้เพื่อให้รู้ถึงขั้น ความยากลำบากในการปฏิบัติงาน เป็นบทเรียนว่า หากจะใช้คนทำงานต่อไปเมื่อจบเป็นบัณฑิตจะได้เข้าใจจากประสบการณ์จริงว่าหนักเบาแค่ไหน มีขั้นตอนอะไรบ้าง จนถึงการเก็บผักขาย ซึ่งจะเห็นว่า ช่วงปลายๆ ภาคการศึกษาที่หนึ่ง จะมีนักศึกษาเก็บผักสด ๆ ขาย ก็แวะมาซื้อผักสด ๆ จากแปลง มาให้กำลังนักศึกษาได้ทุกปี
บันทึกอื่นๆ
- เก่ากว่า « ขอบคุณผู้บริจาคเข้ากองทุนคณะทรัพ...
- ใหม่กว่า » คณะทรัพยฯ ร่วมกับกระทรวงเกษตรฯ อ...
ความเห็น
วันนี้ (14 มค. 52) แวะไปดูดอกปอเทือง เลยเก็บภาพมาฝาก แต่กว่าจะเล็งได้ซักรูป เล่นเอาตาลาย
เพราะลมแรงเหลือเกิน ทำให้ดอกไม้ไหวตลอดเวลา อีกทั้งดอกไม้เริ่มเหี่ยวแล้ว
![]() |
ไม่ทราบว่าดอกมีความแตกต่างจากดอกโสนอย่างไร
วันนี้วันมาฆบูชาไปทำบุญที่วัด ขากลับเห็นดอกปอเทืองเต็มทุ่ง ก็เลยเก็บดอกมาผัดไข่กิน รสชาติไม่แตกต่างกันแต่ความหวานน้อยกว่า มีแมลงตัวเล็กๆเท่าเศษผงเยอะกว่าดอกโสน แต่ล้างน้ำหลายน้ำก็หมดกลีบดอกไม่ช้ำง่ายเหมือนดอกโสน
ไม่รู้จักต้นปอเทืองหรอกแต่คนแก่ๆบอกว่ากินได้เหมือนดอกโสน ตอนนี้กินไปแล้ว 3 คน ตอนมื้อเที่ยง ยังไม่ม่ใครมีอาการผิดปกติ แต่อยากทราบว่ากินได้หรือไม่
ถ้าคนส่วนใหญรู้ว่ากินได้ คงหมดไปเป็นทุ่งๆแน่เลย
![]() |
เรียนคุณ salin thara
เท่าที่ทราบ ไม่มีใครบอกว่ากิน หรือไม่ได้ แต่ทั้งสองพืชเป็นพืชตระกูลถั่วเหมือนกัน โดยโสนมักขึ้นตามธรรมชาติ หลังหน้าน้ำ ปัจจุบันคงมีการปลูกเก็บดอกขาย
ส่วนปอเทืองใช้ปลูกทำปุ๋ยพืชสด ปรับปรุงบำรุงดิน
ที่บันทึกมา คงกินไปเรียบร้อยแล้ว หว้งว่าคงปลอดภัยนะครับ เป็นอย่างไรช่วยส่งข่าวมาด้วย หากไม่มีปัญหา คงมีคนเก็บดอกกินจนหมดทุ่งอย่างที่ว่า หรือต่อไปอาจมีคนปลูกเก็บดอกขายก็ได้
![]() |
แปลกตาดี สีก็สวยครับ
13 มกราคม 2552 16:51
#39996