ความเห็น: 0
PSU ไบโอดีเซล 63: ไฮโดรเอสเตอริฟิเคชัน (ต่อ)
Aranda (2009) นำเสนอกระบวนการ Hydroesterification ที่ดำเนินการผลิตที่ประเทศบราซิล ดังแสดงด้วยไดอะแกรมต่อไปนี้ โดยการทำปฏิกิริยาเอสเตอริฟิเคชันนั้นใช้แบบ reactive distillation แอลกอฮอล์ที่ใช้สามารถใช้ได้กทั้งเมทานอลและเอทานอล กระบวนการนี้มีจุดเด่นที่ให้กลีเซอรอลที่บริสุทธิ์และใช้กับสารป้อนที่มีกรดไขมันอิสระสูงได้
รูปต่อไปนี้แสดงโรงงานสาธิตการผลิต ซึ่งไม่ได้ใหญ่และซับซ้อนมากนัก
Asakuma et al. (2011) ศึกษาเชิงทฤษฎีของปฏิกิริยาทรานส์เอสเตอริฟิเคชันของไตรกลีเซอไรด์ในสภาวะกรดและเบส ได้นำเสนอว่า จลนพลศาสตร์ของปฏิกิริยาทรานส์เอสเตอริฟิเคชันจะดำเนินการผ่านสถานะ cyclic transition ที่ประกอบด้วยคาร์บอกซิลคาร์บอนและแอลกอฮอล์ โดยในสภาวะเร่งปฏิกิริยาที่เป็นเบสนั้น ปฏิกิริยาไฮโดรไลซิสต้องใช้พลังงานก่อกัมมันต์ที่สูงกว่าปฏิกิริยาทรานส์เอสเตอริฟิเคชันด้วยเมทอกไซด์ ซึ่งต้องผ่าน five-membered cyclic transition state แต่ในสภาวะตัวเร่งปฏิกิริยาที่เป็นกรดนั้น แม้ว่าพลังงานก่อกัมมันต์ของปฏิกิริยาทรานส์เอสเตอริฟิเคชันและไฮโดรไลซิสจะมีค่าต่ำกว่าในสภาวะเบส แต่ปฏิกิริยาจะเกิดช้ากว่าเพราะปฏิกิริยาจะต้องผ่าน seven-membered cyclic transition state ซึ่งมีขนาดที่ใหญ่กว่า
คู่จันทร์ (2549) ศึกษาการผลิตไบโอดีเซลจากไขมันในบ่อน้ำทิ้งโรงงานปาล์ม ซึ่งมีกรดไขมันอิสระมากกว่า 73% โดยทำการไฮโดรไลซิสด้วยตัวเร่งปฏิกิริยากรดซัลฟิวริกก่อน พบต้องใช้อุณหภูมิที่สูงกว่า 160 °C และใช้เวลานานมากกว่า 36 ชั่วโมง จึงสามารถนำไปผลิตเป็นไบโอดีเซลได้ ซึ่งสิ้นเปลืองพลังงานและเวลามาก จึงเลือกใช้วิธีกลั่นแยกส่วนที่เป็นไขมันภายใต้สุญญากาศก่อนนำไปผลิตเป็นไบโอดีเซลด้วยกระบวนการเอสเตอริฟิเคชันต่อไป
ผม..เอง
ร่วมแสดงความเห็นในหน้านี้