ความเห็น: 5
ก้าวใหม่ของ e-Learning ใน ม.อ.
คงเป็นที่ทราบกันว่า การใช้ระบบ e-Learning ของ ม.อ.เราเริ่มจากการสร้าง courseware ที่เป็น web-based ทั่วๆ ไป และต่อมาก็พัฒนาเป็น Virtual Classroom ซึ่งในยุกต้นๆ ก็ยังเป็น Web-based ช่วงแรกๆ นั้น เข้าใจว่า ดูแลโดยศูนย์คอมพิวเตอร์ ส่วนที่แต่ละคณะ ผมไม่มีข้อมูลว่า ได้มีการใช้งานลักษณะใด
ต่อมาในยุคที่ รศ. วัลลภ สันติประชาเป็นรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการก็ได้ส่งเสริมให้พัฒนา LMS ของ ม.อ. โดยมี รศ. สินชัยจากภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์เป็นหัวเรี่ยวหัวแรง และเป็นที่รู้จักกันในชื่อ VCR1 จนกระทั่ง เมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมาก็ได้พัฒนาเป็น VCR2 และใช้กันมาจนทุกวันนี้
อย่างไรก็ตาม เนื่องจาก LMS ที่พัฒนาขึ้นมี feature ค่อนข้างจำกัด และบางรายวิชา โดยเฉพาะรายวิชาด้านภาษาของคณะศิลปศาสตร์ไม่สามารถนำไปใช้เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์และกำหนดกิจกรรมของผู้เรียนได้ จึงได้ขอใช้ Moodle ที่วิทยาเขตปัตตานี ซึ่งก็พบกับข้อจำกัดด้าน Bandwidth ระหว่างหาดใหญ่กับปัตตานี คุณวิภัทรของศูนย์คอมพิวเตอร์จึงได้อำนวยความสะดวกด้วยการติดตั้ง Moodle server ที่วิทยาเขตหาดใหญ่เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว
จากการหารือกันของคณะกรรมการโครงการจัดตั้งศูนย์สื่อการเรียนรู้เมื่อต้นปี 2551 ที่ผ่านมา คณะกรรมการส่วนใหญ่มีความเห็นตรงกันว่า ปัจจุบัน ในบรรดา LMS ที่เป็นที่นิยมใช้งานกันนั้น Moodle น่าจะเป็นตัวเลือกที่ดี เพราะมีทีมพัฒนา และชุมชนผู้ใช้งานที่เข้มแข็ง มี feature ต่างๆ ให้เลือกใช้จำนวนมาก ที่สำคัญเป็นโปรแกรม Open Source ที่เราสามารถนำมาดัดแปลงให้เหมาะสมกับการใช้งานของเราได้
จากการสำรวจการใช้ LMS ของสถาบันการศึกษาต่างๆ ก็พบว่า สถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาจำนวนมากก็ใช้ Moodle เป็น LMS หลัก และล่าสุดเมื่อ 8 มีนาคมที่ผ่านมา TCU (Thailand Cyber Uninversity - มหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย) ก็ได้จัดสัมมนาในหัวข้อเรื่อง "แนวทางการพัฒนา Moodle LMS เพื่อ e-Learning ในประเทศไทย" ซึ่งน่าจะเป็นสัญญาณส่งเสริมการใช้ Moodle เป็น LMS หลักต่อไป
ใน ม.อ. ด้วยกันเอง วิทยาเขตปัตตานีก็ได้ใช้ Moodle มาเป็นเวลาหลายปีแล้วเช่นกัน ส่วนวิทยาเขตอื่นๆ ก็ทราบว่า บางคณะก็ใช้ Moodle เช่นกัน
ด้วยข้อมูลสนับสนุนดังกล่าว คณะกรรมการโครงการจัดตั้งศูนย์สื่อการเรียนรู้ จึงได้กำหนดนโยบายให้เริ่มใช้ Moodle เป็น LMS ของ ม.อ. ต่อไป ส่วน VCR2 ที่ใช้งานกันอยู่ในปัจจุบันก็จะยังคงให้บริการต่อไปอีกระยะหนึ่ง
ม.อ. ได้เริ่มใช้ Moodle เป็น LMS ตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 1/2551 โดยมี URL ของระบบ อยู่ที่ lms.psu.ac.th ครับ
บันทึกอื่นๆ
- ใหม่กว่า » เริ่มต้นเรียนรู้ Moodle
ความเห็น
![]() |
ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุขฯ คณะพยาบาลศาสตร์ ก็กำลังจะเริ่มศึกษาเพื่อจะนำ Moodle มาใช้ช่วยเสริมการจัดการเรียนรู้ให้กับนักศึกษา
ตามมาเพื่อหาความรู้เหมือนกัน ครับ
ในคณะทำงานก็คุยกันมาหลายครั้ง และก็กำลังทดสอบระบบกันอยู่ครับ ตั้งเป้าว่า ประมาณต้นเดือน พ.ค. นี้น่าจะเปิดให้เริ่มใช้งานกันได้แล้วครับ
และก็จะมีการอบรมเป็นระยะๆ ไปครับ
คณะใดที่มีผู้รับผิดชอบเป็นตัวเป็นตนอยู่แล้ว ผมเสนอว่า น่าจะเข้ามาร่วมแจมในเรื่องนี้ใน share ไปพลางๆ
ใครรู้อะไรดีๆ ก็เขียนเล่าเข้ามา
ใครมีคำถาม ก็เขียนถามเข้ามาได้ครับ
และหากต้องการทดสอบก็เข้าไปที่
http://lms1.psu.ac.th/test/moodle
ใช้ user name และ password อันเดียวกับที่ใช้ใน share.psu.ac.th ครับ
11 เมษายน 2551 12:15
#26850
ก็ OK ครับ moodle ก็ moodle ผมเป็น user ประเภทผู้ตามครับ