ความเห็น: 0
กฎการปัดเลข (Rules for rounding off)
ลูกไก่จำได้ว่าเรื่องการปัดเลขตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ ลูกไก่ได้เรียนครั้งแรกตอน ป.ตรี ปี 1 ซึ่งตอนนี้ก็ผ่านมา....ปี (มะบอกนะค่ะ เขิลล ฮาๆๆ) แต่ลูกไก่โชคดีหน่อย เพราะได้ใช้ในงานประจำ หากไม่ได้ใช้บ่อยอาจสับสน ไม่มั่นใจได้ วันนี้ลูกไก่เลยเอาวิธีการปัดเศษมาฝาก เพื่อทบทวนกันค่ะ
ทำไมต้องมีกฎการปัดเศษโดยหลักการทางวิทยาศาสตร์ !!!
การวัด การทดสอบ หรือการวิเคราะห์ในทางวิทยาศาสตร์หรือวิศวกรรม จะได้ผลลัพธ์ที่เป็นค่าตัวเลข ซึ่งจะต้องนำมารายงานผล คำนวณหรือใช้เป็นข้อกำหนดคุณภาพต่างๆ ในทางวิทยาศาสตร์ มีการนําข้อมูลที่เป็นตัวเลขไปใช้ในการวิเคราะห์ เช่น การหาค่าเฉลี่ย (mean or average), การหาค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) ซึ่งต้องนําค่าของจํานวนมารวมกัน
ดังนั้นจึงพิจารณาการปัดค่าลงและขึ้นในสัดส่วนที่เท่ากน โดยแยกเลข 5 ไว้ต่างหาก เพื่อให้สัดส่วนการปัดเลขเป็น เท่ากันในทุกกรณี จึงต้องมีวิธีการปัดเศษที่กำหนดขึ้นให้ใช้เป็นมาตรฐานเดียวกัน
หลักเกณฑ์ต่อไปนี้ใช้ในการปัดเลขที่ตามหลังตัวเลขนัยสําคัญตัวสุดท้าย
1. ถ้าน้อยกว่า 5 ให้ปัดตัวเลขนี้ทิ้ง โดยรวมถึงตัวเลขทั้งหมดหลังตัวเลขดังกล่าว ถ้ามากกว่า 5 ให้ตัดตัวเลขนี้และตัวเลขที่ตามมาทิ้งแล้วเปลี่ยนตัวเลขนําหน้าให้ค่าเพิ่มขึ้น อีก 1 เช่น
- 62.5467 ทศนิยม 1 ตำแหน่งปัดเป็น 62.5 (4 มีค่าน้อยกว่า 5 จึงปัด ทิ้งตั้งแต่เลข 4 )
- 62.5467 ทศนิยม 2 ตำแหน่งปัดเป็น 62.55 (6 มีค่ามากกวา 5 จึงเปลี่ยนเลข 4 ให้เป็นเลข 5)
2. ถ้าเป็นเลข 5 และไม่มีตัวเลขหรือเลข 0 ตามหลังเลข 5 ให้ปฏิบัติดังนี้
ก. ถ้าตัวเลขนําหน้าเลข 5 เป็นเลขคู่ ให้ปัดเลข 5 ที่ตามมาทิ้งไป เช่น
- 3.850 หรือ 3.85 ทศนิยม 1 ตำแหน่งปัดเป็น 3.8
(8 เป็นเลขคู่จึงปัด 5 ทิ้งไป)
- 2.705 หรือ 22.7050 ทศนิยม 2 ตำแหน่งปัดเป็น 22.70
(5 ตามหลังเลข 0 จึงปัด 5 ทิ้งไป)
ข. ถ้าตัวเลขนําหน้าเลข 5 เป็นเลขคี่ ให้ปัดเลข 5 นั้นทิ้ง แล้วเปลี่ยนเลขนําหน้าให้มีค่าเพิ่มจากเดิมอีก 1 เช่น
- 12.7350 ทศนิยม 2 ตำแหน่งปัดเป็น 12.74
(3 เป็นเลขคี่ จึงปัดขึ้นให้เป็นเลขคู่)
- 2.0495 ทศนิยม 3 ตำแหน่งปัดเป็น 2.050
(9 เป็นเลขคี่จึงปัดขึ้นให้เป็นเลขคู่และต้องเขียนเลข 0 ตัวสุดท้ายเพื่อให้มีตัวเลขนัยสําคัญตามที่ต้องการ)
3. ถ้าเป็นเลข 5 และมีตัวเลขตามหลังเลข 5 นี้ไม่ว่าจะเป็นตัวเลขใดก็ตาม (ยกเว้นเลข 0) ให้ปัดเลข 5 ทิ้งแล้ว ต้องเปลี่ยนตัวเลขนําหน้าให้มีค่าเพิ่มขึ้นอีก 1 เสมอ เช่น
-1.2451 ทศนิยม 2 ตำแหน่งปัดเป็น 1.25
-1.2456 ทศนิยม 2 ตำแหน่งปัดเป็น 1.25
-1.2450 ทศนิยม 2 ตำแหน่งปัดเป็น 1.24
ห้ามใช้การปัดเศษสืบเนื่อง
สิ่งที่ควรระวังเป็นอย่างยิ่ง คือการปัดเศษสืบเนื่อง ซึ่งส่งผลให้ค่าผิดพลาดมาก เพราะฉะนั้นก่อนที่เราจะปัดให้ดูจำนวนตัวเลขนัยสำคัญจากเทคนิคการวัด
ตัวอย่าง |
ปัดเศษขั้นเดียว |
ปัดเศษสืบเนื่อง |
0.54999 |
0.5 |
0.550 --> 0.55 --> 0.6 (%คลาดเคลื่อน>ค่าจริง = 20%) |
0.6501 |
0.7 |
0.650-->0.65--> 0.6 (%คลาดเคลื่อน<ค่าจริง = 14%) |
523.46 |
523 |
523.46--> 523.5-->524 |
524.54 |
525 |
524.54--> 524.5-->524 |
ร่วมแสดงความเห็นในหน้านี้