ความเห็น: 4
วิกฤติการเมือง ๕: สรุป
มหาวิทยาลัยรังสิต
๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗
จากบันทึกแรก บันทึกสอง วิกฤตการเมือง ๒: บันทึกสาม วิกฤติการเมือง ๓: บันทึกสี่ วิกฤติการเมือง ๔:
ที่ดูท่าทีว่าจะยังไม่จบง่าย ๆ ...นั้น ....
จบแล้วครับ ตามทฤษฎีมะม่วงหล่น ของอาจารย์ธีรยุทธ ...
เพราะนอกจากทั้งแก่และสุกงอมคาต้นแล้ว ยังโดนฝนฟ้าพายุโหมกระหน่ำอย่างหนัก ยังไง ๆ ก็หล่นแล้วละครับ
นั่นคือบทสรุป ที่ทุกคนรอคอย
แต่เพิ่งเริ่มต้นบทใหม่ แห่งการปฏิรูปประเทศไทย...
ที่ผมอยากออกความเห็นไว้ ณ ที่นี้ ในเชิงหลักการและประเด็นที่เห็นว่าสำคัญ ซึ่งผมขอแยกให้เห็นชัดเจนว่า มีเพียง ๒ ประเด็นคือ
๑. กลไก
๒. กฎหมาย
ที่น่าเป็นห่วงคือ เท่าที่ฟัง ๆ มาส่วนใหญ่จะมุ่งไปแก้ประเด็นที่ ๒ คือกฎหมายเป็นหลัก ซึ่งผมมองว่ามีส่วนในการก่อให้เกิดปัญหาเพียงส่วนน้อย ... เอาเป็นว่าให้เห็นภาพชัด ๆ คงประมาณ 25%
ขณะที่ตัวปัญหาจริง ๆ อยู่ที่ "กลไก" มากกว่า ซึ่งอยู่ในราว ๆ 75% ในสายตาผม
โดยจะขอยกตัวอย่างที่ผมชอบใช้เสมอ ๆ เพราะเคยอยู่หาดใหญ่หลายสิบปี ที่สังเกตเห็นว่า ชาวสิงคโปร์และมาเลเซีย ซึ่งปกติเป็นชนชาติที่เคารพกฎหมายและมีระเบียบวินัยสูงมาก เมื่อเข้ามาท่องเที่ยวที่หาดใหญ่ เวลาทานเงาะก็จะโยนเปลือกทิ้งบนถนน (ที่แม้กระทั่งคนไทยก็ไม่ทำกัน) ... ลองวิเคราะห์กันดูนะครับว่า ทำไม
ในสิงคโปร์ ผิดกฎหมาย ...โดนตำรวจจับ ปรับ
ในไทย ผิดกฎหมาย เช่นกัน ...แต่ไม่เคยโดนตำรวจจับ ปรับ
ผมกำลังชี้เป้า ว่า "กลไก" ต่างหากที่ไม่ทำงาน
ปัญหาที่เกิดขึ้นในเมืองไทยปัจจุบัน หลาย ๆ อย่างชัดเจนว่า "ผิดกฎหมาย" นั่นหมายถึงว่า อย่ามัวเสียเวลาในการปฏิรูปโดยการแก้กฎหมายมากนัก
ให้แก้ "กลไก"... เป็นหลัก
...............
อีกเรื่องหนึ่งที่ยังค้างคากันอยู่...และเห็นว่าควรจะเขียนถึง เพราะเกี่ยวข้องโดยตรง
นั่นคือ การก่อร่างสร้างเครือข่าย องค์กร ต่างๆ เพื่อการตรวจสอบ ที่ตอนนี้ "น่าจะ" ถือโอกาส "สร้าง" ขึ้นได้ไม่ยากนัก ทั้งนี้ ตามความเห็นของผมแล้วควรจะเป็นองค์กรที่ถาวร โดยอิง วิชาชีพ สังคม สมาคม หรือสหกรณ์ ฯลฯ เป็นหลัก ซึ่งก็เป็นที่น่ายินดีว่า มีองค์กรลักษณะนี้เกิดขึ้นแล้วบ้าง เช่น เครือข่ายวิชาชีพสาธารณสุข เป็นต้น
(ป.ล. ...ยังเขียนต่อครับ)
---------------------------
(บันทึกเล็ก ๆ ปิดท้าย)
๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๗
จากบันทึก "การล่มสลายทางความคิด" นั้นมีบางประเด็น ที่ผมขออนุญาตนำมาขยายความต่อในบันทึกนี้ ดังนี้ ...
การแบ่งฝ่ายที่ชัดเจน การตอบโต้ที่มีเหตุผลเพียงว่าเธอไม่ใช่พวกฉัน ทำให้เกิดการแตกความสามัคคีในสังคมไทย
มุมมองนี้ เป็นมุมมองที่หลาย ๆ คนมองเห็นและเป็นอยู่ ... แต่หลาย ๆ คนมองออกถึงความจริงและได้มองทะลุจุดนี้ไปแล้ว ... ผมขออธิบาย ผล ก่อนแล้ว ขยายความเรื่องเหตุ นะครับ
พูดง่าย ๆ ว่าคุณสุเทพ มองภาพทะลุแล้ว จึงให้สัตยาบัน ๒ ข้อหลัก ๆ คือ การลาออกจากสมาชิกพรรคการเมือง และจะไม่รับตำแหน่งทางการเมืองตลอดไป ... ตรงนี้ทำให้ ปัจเจกชน และกลุ่มคนหลาย ๆ กลุ่มวางใจ ออกมาร่วมการชุมนุมอย่างมากมายมหาศาล (ผล) ซึ่งเกิดจากเหตุ หรือปัจจัยหลักคือ
เข้ามาร่วม "กำจัด" การทุจริต โกงกิน คอรัปชั่น ฯลฯ ด้วยความเต็มใจ ไม่ได้มาเพราะเป็น "พวก" คุณสุเทพ
...แม้ว่า หลายคนจะตะขิดตะขวงใจอยู่บ้าง ขณะที่อีกฝ่าย พยายามทุกวิถีทาง สร้างภาพและออกสื่อทั้งในและนอก ว่า เป็นแค่พรรคการเมือง ๒ พรรคกับพวกของแต่ละฝ่ายแย่งชิงอำนาจกัน ...
ซึ่งขอย้ำว่า
"ไม่ใช่"
Other Posts By This Blogger
- Older « วิกฤติการเมือง ๔: วิจารณ์และข้อเ...
- Newer » ขอมอบดอกไม้ ให้ คสช.
ความเห็น
ครับ คนที่ร่วม "ลงแขก"รอบนี้ ไม่กลัวว่าจะ "ไช่" หรอกครับ...
เพราะไอ้นั่น "ไล่" กันทีหลังอีกกี่รอบก็ได้
ก็ประเมินคร่าว ๆ ว่าที่ออกมาเพราะ "พวก" น่าจะมากกว่า 20-30% ขึ้นไป
แต่ที่ออกมาเพราะ ไม่มีทางเลือกอื่นดีกว่า น่าจะมากกว่า 50%
(วงเล็บจริง ๆ ว่าหลายคนโดยเฉพาะพวก อีโก้สูง ยังอึกอักอยู่)
ส่วนที่เหลือ 20-30% เป็นพวกก้ำ ๆ กึ่ง ๆ รวมทั้งพวกแทงกั๊ก อีกเล็กน้อย
ผมจึงเสียดายโอกาสในการสร้างกลไก ภาคประชาชน อยากให้เกิดจริง ๆ ...
ข้อเสนอปิดท้ายครับ
การเมืองไม่ควรเป็น "อาชีพ" แต่ควรเป็นงาน "อาสา" มากกว่า
ทุกคนรู้ว่าอาชีพหมายถึงอะไร
ส่วนงานอาสา ย่อมหมายถึงคุณสามารถเลี้ยงชีพตัวเองได้สบายแล้ว จึงหันมาทำงาน"เพื่อสังคม"
ดังนั้นในช่องประวัติ อาชีพ ต้องกรอกอย่างอื่นหรือ "ว่างงาน?"
จากแนวคิดนี้ ตำแหน่งทางการเมืองจึงไม่ควรอยู่นานเกิน๑ สมัย ควรให้คนไทยอีก กว่า๖๐ล้านคนเข้ามาเสียสละเพื่อสังคมบ้าง
ถ้าคิดว่าเสียดายความรู้ ความสามารถ ก็เป็นที่ปรึกษาไปก็ได้ครับ
เป็นเวลาของ "เครือข่ายสหสัมมาชีพ"ที่อาสามาร่วมกอบบ้านกู้เมืองด้วยความบริสุทธิ์ใจ
ล้นเกล้ารัชกาลที่ 7 ท่านทรงสละพระราชอำนาจ สละที่พักพิงไปอยู่ต่างแดน เพือหวังความสงบของบ้านเมือง
ล้นเกล้ารัชกาลที่ 8 ทรงถึงกับสละพระชนม์ชีพ มีพระราชดำรัสไว้ว่า"ถ้าคนไทยทุกคน ถือว่าตนเป็นเจ้าของชาติบ้านเมืองและต่างปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ดีด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและถูกต้องตามธรรมนองคลองธรรมแล้ว ความทุกข์ยากของบ้านเมืองก็จะผ่านพ้นไปไ้ด้" ธนบัตร 20 บาท
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู้หัวองค์ภูมิพล ทรงงานมาตลอดรัชสมัยในการสร้างแนวทางการพัฒนาที่เหมาะสมกับสังคมไทย จนได้เป็นปรัชญาและหลักเศรษฐกิจพอเพียง
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ประกาศเป็นพันธกิจ 1 คือพัฒนามหาวิทยาลัยให้เป็นสังคมฐานความรู้บนพื้นฐานพหุวัฒนธรรมและหลักเศรษฐกิจพอเพียงโดยให้ผู้ใฝ่รู้ได้มีโอกาสเข้าถึงความรู้ในหลากหลายรูปแบบ มีพันธกิจ 2 คือ สร้างความเป็นผู้นำทางวิชาการในสาขาที่สอดคล้องกับศักยภาพพื้นฐานของภาคใต้และเชื่อมโยงสู่เครือข่ายสากล และพันธกิจ 3 คือผสมผสานและประยุกต์ความรู้บนพื้นฐานประสบการณ์การปฏิบัติสู่การสอนเพื่อสร้างปัญญา คุณธรรม สมรรถนะและโลกทัศน์สากลให้แก่บัณฑิต
จะขับเคลื่อนพันธกิจอย่างไร ของ"เครือข่ายสหสัมมาชีพ" ในเขตรั้วสีบลู "ม.อ.ใต้ร่มพระบารมี" เพื่อการชี้นำสังคมให้เกิดการมีส่วนร่วมสู่วัฒนธรรมองค์กรที่ต้องการหล่อหลอม " ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง" สุ๋ค่านิยมความเป็น PSU คือ "การร่วมแรง ร่วมใจ รับผิดชอบต่อสังคมอย่างมืออาชีพ" สู่ความเป็นอัตลักษณ์คือ "นักศึกษามีคุณธรรม จริยธรรม"
อะไรจะเป็นกลไกหลักที่ประชาคมจะใช้และเรียนรู้ร่วมกันในการก้าวไปสู่เป้าหมายที่ประกาศไว้ต่อสังคม
ขอบพระคุณบันทึก ที่ช่วยให้เกิดการทบทวนตน
"โลกนี้มีความพร่องอยู่เป็นนิจ" การก้าวเดินอย่างมีสติ เติมเต็มแก้ไขสิ่งที่พร่องคือหนทางในการพัฒนาความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์
เจริญธรรมค่ะ
ยาดมเอง
20 Febuary 2014 18:19
#95955
กลไกเป็นเรื่องหลักที่ต้องแก้ไขจริง ๆ ครับ
เป็นโจทย์ที่ยาก ที่นานเรื่องการทำให้กลไก มีความเข้มแข็ง
ผมค่อนข้างจะเซ็งอยู่สักนิดตรงที่มีผู้ใหญ่มาย้ำแนวทางว่า ชูแนวทางอยู่ 5 แนวทางตลอดมา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเรื่องของ กฎหมาย
เรื่องของกลไกที่เป็นชิ้นส่วนสำคัญนั้นดูจะไม่ได้พูดถึง หรือให้น้ำหนักเท่า
ผมเห็นด้วยในแนวคิดของ ก่อน-หลัง แต่ต้องไม่ลืมเรื่องหลัง ถึงแม้จะอยู่หลังแต่ก็นำมาพูดได้
ผมก็พยายามมองในแนวทางว่า "ไม่ใช่" อยู่ครับ แต่ก็มีคนถามผมเหมือนกันว่า ไม่กลัวว่าจะ "ใช่" หรือ
ผมตอบไปว่าตอนนี้ทุกคนมีจุดร่วมที่เหมือนกัน ต้องทำจุดร่วมให้สำเร็จ ส่วนเรื่องอื่นก็ต้องส่งเสียง อย่าเป็นจ่าเฉย ไม่งั้นต้นทุนในฐานะพลเมืองก็ไม่มีความหมาย
อิอิอิ
เราเอง