ความเห็น: 0
Thinking Classroom 1: Educated Person
หนังสือ Thinking Classroom เล่มนี้ เริ่มต้นด้วยคำถาม
"เราไปโรงเรียนเพื่ออะไร?" ซึ่งสอดคล้องกับชื่อหนังสือ Philosophical Enquiry
แท้จริงแล้ว การศึกษามีแก่นที่แท้จริง คือกระบวนการในทางปัญญาที่ขัดเกลาให้เกิดทรัพยากรบุคคลที่เรียกว่า "ผู้มีการศึกษา" ต่างหาก
สิ่งที่คาดหวังจากโรงเรียนคือ "การพัฒนาเด็กให้มีความมั่นใจ ความกระตือรือล้น และเป็นผู้เรียนที่ขับเคลื่อนด้วยตนเอง (Self-motivated Learners) เป็นผู้ที่รับผิดชอบ เป็นนักคิดที่มีความอิสระ รักที่จะเรียนรู้และให้คุณค่ากับความรู้ มีจิตใจที่เปิดกว้างและโอบอ้อมอารี เสริมสร้างความสร้างสรรค์ มีขีดความสามารถ เป็นผู้ที่แสดงให้เห็นถึงความกระหายใคร่รู้ และสามารถทำงานเป็นทีม" (คาดหวังมากไปหรือไม่เนี๊ยะ)
ผู้ที่มีการศึกษาคือใคร?
คือผู้ที่มีมาตรฐานและความสามารถทางปัญญา ที่ให้คุณค่าและเสาะหาความสำเร็จ สามารถคิดได้อย่างกระจ่าง มีความถูกต้องแม่นยำ มีความสอดคล้องกับบริบทต่างๆ มีความลึกในความคิด มีความกว้างในมุมมอง มีตรรกะ มีการคิดอย่างมีนัยยะสำคัญ และแน่นอนว่า เราไม่อาจเรียกคนที่มีความคิดอย่างปราศจากความชัดเจน ไม่แม่นยำ ไม่ถูกต้อง ไม่สอดคล้อง คิดอย่างผิวเผิน มีจิตใจคับแคบ ไร้ตรรกะ หรืออย่างไม่มีนัยสำคัญ ว่าเป็นคนที่มีการศึกษาได้ (Paul, R. and Elder, L., 2008)
นิยามนี้ค่อนข้างแรงครับ เพียงแค่ คิดอย่างผิวเผิน อย่างเดียวก็ไม่เป็นผู้มีการศึกษาแล้ว แต่ก็เป็นจริงนะครับ เพราะเรามักชอบคิดแบบแยกส่วน ไม่ค่อยจะคิดแบบบูรณาการ แล้วก็ถกเถียงในเฉพาะส่วนที่แยกมาคิดเท่านั้น
มาตรฐานทางปัญญาจะต้องประกอบด้วย
1. ความชัดเจน (Clarity)
2. ความถูกต้อง (Accuracy)
3. ความแม่นยำ (Precision)
4. ความสอดคล้อง (Relevance)
5. ความลึก (Depth)
6. ความกว้าง (Breadth)
7. มีตรรกะ (Logic)
8. ความสำคัญ (Significance)
9. ความเที่ยงธรรม (Fairness)
หนังสือ Thinking Classroom นี้อ่านยากครับ มีหัวข้อย่อยเต็มไปหมด ยากแก่การจำ แต่เราอาจจะปฏิบัติอยู่แล้วโดยไม่รู้ตัวก็ได้
ผม..เอง (แมวมึนงง?)
บันทึกอื่นๆ
- เก่ากว่า « ทักษะชีวิต ทักษะสังคม
- ใหม่กว่า » 38 ปีของการทำงานที่ ม.อ.
ร่วมแสดงความเห็นในหน้านี้