ความเห็น: 5
ต้นไม้บ้านเรา (4) ปลูกถั่วพู..ปัจฉิมบท (มดแดงคาบเพลียะ)
๓ สัปดาห์ที่แล้วตนเองเขียนบันทึกภาคแรก ทิ้งเอาไว้ ซึ่งเป็นที่มาของการปลูกถั่วพูที่บ้านเราอย่างยากเย็น ซึ่งไม่ง่ายอย่างชาวสวนตัวจริง ตั้งแต่เพาะเมล็ด แยกปลูก เหลาไม้ไผ่ ทำร้าน และเฝ้ารดน้ำใส่ปุ๋ยจนยอดเลื้อย ออกใบเต็มไปหมด
บันทึกนี้จึงมาต่อภาค ๒ และเป็นภาคจบกันไปในทีเดียว ซึ่งตนเองยังคงเน้นภาพมากกว่าข้อความเหมือนเดิมครับ เชิญชมได้เลย
ย่างเข้ากลางเดือนที่ ๓ ดอกถั่วพูเริ่มออกให้เห็น ช่วงแรกมีแต่ดอกตูม
แต่ดอกตูมออกไม่ทันไร ก็ร่วง เป็นอย่างนี้อยู่ประมาณหนึ่งสัปดาห์ จากนั้นก็เริ่มเห็นดอกตูมผลิเป็นดอกบานแล้ว แต่ดอกที่บานเต็มที่ก็ร่วงง่ายโดยไม่ทันได้ผสมเสียที
ปลายเดือนที่ ๓ นี้เอง ที่เราได้ยลโฉมดอกถั่วพูเต็มต้นแล้ว อิอิ ไปหาความรู้เพิ่มเติมมาเลยพบว่า ถั่วพูชอบภูมิอากาศที่มีเวลากลางวันสั้น กลางคืนยาวนาน ซึ่งตรงข้ามกับภาคใต้บ้านเราเอามากๆ ที่อยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตรมาก จึงเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้การปลูกยากขึ้นไปอีก
ตอนนี้ใบเต็มต้น ส่วนผลยังเพิ่งเริ่มผสมได้บ้างไม่ได้บ้าง
เมื่อเห็นถั่วพูมันแตกยอดเยอะ เลยรอไม่ไหว เด็ดยอดมาทำอาหารก่อนได้กินผลซะเลย เคยทานแต่ยอดถั่ว ยอดฟักผัดน้ำมันหอย วันนี้เลยเอามาทำ "ไข่เจียวยอดถั่วพู" ดู อร่อย ทานง่าย และได้ประโยชน์ด้วย
สุดท้าย เราก็ได้ทานถั่วพูในเดือนที่ ๓ ได้เก็บฝักวันละ ๓-๔ ฝักเป็นฝักอ่อนๆ ไว้ทานไปเรื่อยๆ วันละนิดละหน่อยแบบพอเพียง พอดี เป็นผลผลิตแบบไม่ใช้ปุ๋ยเคมี ไม่ใช้ยาฆ่าแมลง อิอิ
แต่การไม่ใช่สารเคมีในการปราบศัตรูพืช ก็ทำให้เราโดน "มดแดงและเพลียะ" โจมตีตลอดมา ตั้งแต่เริ่มติดดอก ใช้ทั้งน้ำแช่พริกป่นก็แล้ว ใช้น้ำยาล้างจานก็แล้ว ใช้แป้งโรยโคนต้นก็แล้ว ก็ยังไม่หายสนิท จนใช้สารสกัดชีวภาพเน้นสะเดาที่ซื้อมาจากงานเกษตรชื่อ "แมงน็อก" ก็เห็นว่าเพลียะลดลงไปบ้าง แต่ไม่ค่อยระคายเจ้ามดแดงเลย
แต่กระนั้น เจ้าแมลงทั้งสองพวกนี้ก็ไม่ได้ทำลายต้นถั่วพูของเราให้เสียหายมากนักนอกจากดูดน้ำเลี้ยง เพราะเจ้ามดแดงมันจะคาบเพลียะตัวอ่อนขึ้นมาวางไว้บนยอด หรือที่ดอก หรือที่ผลถั่วพู แล้วพอเจ้าเพลียะดูดน้ำเลี้ยงจากต้นไม้ เจ้ามดแดงก็มาดูดน้ำหวานจากเจ้าเพลียอีกทีนึง เป็นการพึ่งพาอาศัยกัน เจ้าเพลียะก็ไม่ไปไหน ยอมให้มดแดงดูดน้ำหวานจากตัวเองจนเพลียะแก่ตายกันไปเลยทีเดียว (ภาพแรกจะเป็นเพลียะตัวกลมๆ เล็กๆ เต็มไปหมด ภาพล่างเป็นมดแดงที่กำลังคาบเพลียะขึ้นมาบนต้นไม้)
ดังนั้น การแก้ไขเฉพาะหน้าอีกอย่างคือการเอาน้ำฉีดไปที่กลุ่มเพลียะให้หลุดออกในทุกๆ เช้าที่เรารดน้ำ ก็พอทำให้ลดจำนวนพวกมันลงได้แล้ว แต่แค่วันเดียว มดแดงก็คาบเพลียขึ้นมาวางใหม่จนได้ อิอิ
ขอจบบันทึกชุด "ปลูกถั่วพู" กันง่ายๆ ไว้แค่นี้เลยแล้วกันครับ
เอิ้ก เอิ้ก
"ใจสั่งมา"
บันทึกอื่นๆ
- เก่ากว่า « ต้นไม้บ้านเรา (3) ปลูกถั่วพู..ปฐมบท
- ใหม่กว่า » ย้อนรอย Love Story ของใยมะพร้าว
ความเห็น
ใช่แล้วครับ มดแดงเลี้ยงเพลี้ย มันจะคาบเอาเพลี้ยมาวางไว้บริเวณปลายยอด หรือ ใบอ่อนครับ แต่หากออกฝักแล้ว มันจะอยู่บนฝักด้วย หากมีเยอะ ฝักจะไม่ค่อยโตครับ
เอิ้ก เอิ้ก
"ใจสั่งมา"
ขอบคุณครับพี่มิกกี้ครับ
เคยใช้แล้วด้วย คล้ายกับที่ใช้น้ำแช่พริกป่น มันจะหายไปสักวันสองวัน พอกลิ่นจาง ฤทธิ์ยาหาย มันก็คาบกันขึ้นมาใหม่ อิอิ อาจกำจัดไม่ได้ แต่ช่วยบรรเทาได้ดีครับ
เอิ้ก เอิ้ก
"ใจสั่งมา"
11 December 2013 11:31
#94779
ผม search เข้าไปดูในอากู๋ ก็มีทั้งบทความ มดแดงเลี้ยงเพลี้ย และมดแดงกำจัดเพลี้ย แต่น่าจะเป็นมดแดงเลี้ยงเพลี้ยมากกว่านะครับ